สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ประเพณีกินข้าวใหม่ ก่อนการกินข้าวใหม่ ชาวบ้านจะเอาข้าวใหม่เก็บไว้ 1 กระสอบ ไม่ให้นำขึ้นฉางข้าง เพื่อใช้ทำพิธี โดยเจ้าของบ้านจะเชิญแขกในหมู่บ้านและแขกต่างถิ่นมาร่วมกินข้าวใหม่ มีความเชื่อว่าหากเป็นแขกต่างถิ่นมาจะเป็นการดี ส่วนขั้นตอนพิธีนั้นจะต้องใช้สัตว์ คือ เต่า ปู อ้น หอย กุ้ง ต้องใช้สัตว์ที่ช้าๆ เพราะมีความเชื่อว่าสัตว์ที่ช้าจะทำให้ข้าวหมดช้า กินได้นาน นำสัตว์มาประกอบอาหารโดยแยกหัว หาง ตับ ตีนออกมาไว้ต่างหาก แล้วนำสัตว์พวกนี้มาแกงข้าวเบือ (กะโล๊ะโป๊ะ) คนทำห้ามชิมเด็ดขาด ต้องใช้เลี้ยงแขกก่อน แล้วคนทำพิธีจะต้องหาเถาวัลย์มามัดครก มัดหม้อ มัดเครื่องใช้ในครัวเรือน เพื่อเป็นศิริมงคล แล้วนำหัว หาง ตับ ตีน ให้คนทำพิธีไปอฐิษฐานขอข้าวเสร็จแล้วต้องกินบริเวณปากประตูบ้าน ของกินที่เหลือจากการเลี้ยงแขกหากเหลือมากปีหน้าถือว่าได้ข้าวเป็นจำนวนมาก
มกราคม ประเพณีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ การเลี้ยงผีเป็นการเลี้ยงตามความเชื่อของวิถีชีวิตกะเหรี่ยงที่แต่ละครอบครัวจะมีผีบรรพบุรุษที่เคารพนับถือต่อ ๆ กันมาชั่วลูกชั่วหลานต้องมีการทำบุญเลี้ยงผีแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว สามารถทำได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
เมษายน 1. ประเพณีทำบุญเจดีย์ทราย 2.ประเพณีการผู้ข้อมือ 3.ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 1.ชาวบ้านจะร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายข้างแม่น้ำ และนำตุ๊กตาที่ปั้นจากดินมาวางร่วมกัน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ตนเองและหมู่บ้าน และมีการขอขมาแม่น้ำ ตลอดจนการสืบชะตาแม่น้ำเพื่อให้ชาวบ้าน ได้เห็นความสำคัญของแม่น้ำ รู้จักใช้และอนุรักษ์แม่น้ำ 2.ผู้เฒ่าผู้แก่จะผูกข้อมือให้กับลูกหลานตามสายเลือด เพื่อให้มีมงคล 3.ชาวบ้านจะรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ โดยลูกคนโตจะเป็นผู้รดน้ำดำหัวเป็นคนแรก แล้วก็ต่อด้วยบรรดาน้อง ลูก หลาน ตามลำดับอายุ
พฤษภาคม ประเพณีการเลี้ยงผีฝาย 1.ชาวบ้านจะเลี้ยงผีฝายก็ต่อเมื่อไม่มีประเพณีใด ๆ เกิดขึ้นในหมู่บ้าน แล้วแต่เจ้าของนาจะเลี้ยงอะไร เช่น ไก่ผู้กับเมีย เหล้า 1 ขวด ฝายไหลผ่านนาใครเจ้าของนาจะต้องมาเลี้ยงรวมกัน มีความเชื่อว่าจะมาดูแลรักษาป่า เด็ก ๆ ไปเยอะจะดีมาก จะมีการเชือดไก่สด ๆ วางไว้ที่หัวนา แล้วคอยดูว่าจะมีสัตว์แปลก ๆ มาจะเกิดแบบนี้ทุกปี คนที่เข้าร่วมห้ามพูดอะไรผิดเด็ดขาด ต้องใช้แกงส้มกับแกงขมเท่านั้น
กรกฏาคม แห่เทียนพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัด เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สิงหาคม 1.ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว 2.ประเพณีการส่งนก 3.ประเพณีวันลอยกระทง 1.ชาวบ้านจะมีการลงแขกเกี่ยวข้าวกันในช่วงเวลาที่ข้าวแก่แล้ว จะเป็นการเอาแรงกันในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องจ้างคนงานในการเกี่ยวข้าว 2.ประเพณีการส่งนกทำเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ตีข้าวแล้ว ต้องส่งนกเพื่อนำเข้าไว้ในฉางข้าว เพราะว่าจะต้องเอาหัวข้าวมาทำข้าวหลามเพื่อทำพิธี ข้าวที่เหลือจะทำข้าวหลามส่วนหนึ่ง ต้องใช้สิ่งที่ต้องใช้มีเผือก มัน ไก่ตัวผู้กับตัวเมีย ดิน 1ก้อน หญ้า 2 ต้น ก่อนทำพิธีต้องบอกล่าวก่อนว่า ?วันนี้เป็นวันดีทำพิธีแค่วันเดียว นกต้องกลับให้ถึงฟ้า พอถึงเวลาให้นกกลับมาเฝ้าไร่ พอทำเสร็จให้กลับไปอยู่ที่เดิม แล้วคนทำพิธีจะเคี้ยวดิน หญ้ารวมกันแล้วพ่นไว้รอบ ๆ กองข้าว มีความเชื่อว่าข้าวจะได้เยอะ ๆ แล้วกินได้นาน ๆ 3.ชาวบ้านจะช่วยกันทำกระทงใบตองเพื่อมาลอยในห้วยของหมู่บ้านเพื่อขอขมาแม่น้ำ และจะมาร่วมเดินขบวนประกวดนางนพมาศ และประกวดกระทงใหญ่ร่วมกับ อบต.อุ้มผาง และมีการแสดงของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ธันวาคม 1.วันพ่อแห่งชาติ ตอนเช้ามีการทำบุตรตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตอนเย็นมาร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ ที่ว่าการอำเภออุ้มผาง 2.เรียกขวัญข้าวตอนข้าวตั้งท้อง เพื่อให้โตเร็ว

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม 1. การเลี้ยงสัตว์ 2. โรคฝีดาษไก่ 1.ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยง ช้าง วัว ควาย 2.ไก่จะตายจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุมี เชื่องซึมก่อนตายสองถึงสามวันหลัง
กุมภาพันธ์ 1. การทอผ้า 2.การจักสาน 1.ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้เอง ไม่ค่อยได้ขาย เพราะว่าผ้าทอกะเหรี่ยงนั้นทำกันเกือบทุกหมู่บ้าน ตำบลแม่ละมุ้งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ไกลต้องนำมาส่งพื้นที่อุ้มผาง และนานกว่าจะขายได้ ทำให้มีการแข่งขันกันในเรื่องของฝีมือ หากบ้านไหนที่มีลูกสาวจะมีการทอถุงย่ามจำนวนมากเพื่อไว้ใช้ในประเพณีการแต่งงาน 2.การสานไม้ไผ่ เช่น แจก แหย่งช้าง ค่อง ฝักมีด ตะกร้าใส่ของ กระด้ง ตะแกรง
มกราคม ชาวบ้านจะรับจ้างรับ - ส่ง นักท่องเที่ยว เป็นช่วงที่ ?น้ำตกทีลอซู? เปิดให้เดินทางเข้าท่องเที่ยวได้ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้ช้างรับ - ส่ง นักท่องเที่ยว เพราะว่าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยการนั่งช้างมาจากบ้านโขะทะ - ไปโขะทะ และน้ำตกทีลอเร ชมวิถีชีวิตกะเหรี่ยงรอบ ๆ หมู่บ้าน ฤดูกาลนี้จะสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก
พฤษภาคม หาหน่อแฮว หน่อไม้ ผักชะอม เป็นช่วงฤดูฝนที่หน่อแฮว หน่อไม้ ผักชะอม มีมาก ชาวบ้านจะนำมาทำอาหารและถ้าหากมีมากจะนำมาขายในพื้นที่อุ้มผาง และส่งให้กับรีสอร์ทในพื้นที่บ้านปะหละทะ
พฤศจิกายน ปลูกถั่วเหลือง เสร็จจากการทำไร่ข้าวโพด ชาวบ้านจะไถหน้าดินไว้เพื่อการปลูกถั่วเหลือง เป็นการปลุกพืชแบบหมุนเวียนทำให้หน้าดินอุดมสมบูรณ์
พฤศจิกายน ปลูกพริก อากาศจะเหมาะแก่การปลูกพริก ชาวบ้านจะปลูกพริกไว้บริเวณหัวคันนา
เมษายน ทำนา เริ่มจากการไถนา ปลูกนา และเก็บเกี่ยวข้าว
ตุลาคม ทำไร่ข้าวโพด ช่วงนี้เป็นฤดูการปลูกข้าวโพด

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม