สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม กินข้าวใหม่ มีชาวเขาหลายเผ่าที่จัดให้มีพิธีนี้ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบันดาลให้ได้ผลผลิตอย่างที่หวังชาวกะเหรี่ยงจะจัดงานพิธีกินข้าวใหม่ภายหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวไร่ข้าวนาเสร็จมีการเลี้ยงฉลองในระหว่างเพื่อนบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะหมักเหล้าเตรียมเอาไว้ เมื่อถึงวันกำหนดงานหมอผีจะประกอบพิธี โดยเริ่มจากบ้านของฮีโข่ หรือหัวหน้าหมู่บ้าน ก่อนเป็นหลังแรกแล้วกระทำต่อไปจนครบทุกหลังคาเรือน ซึ่งกินเวลา 3 วัน กว่าจะเสร็จ โดยพิธีกรรมก็คือ มีการนำเหล้าและไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณจากนั้นก็จะดื่มเหล้ากันตามประเพณีทำพิธีผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ เสกมนต์คาถาอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุขทุกบ้าน
กุมภาพันธ์ มัดมือปีใหม่ยาฮู้ จัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนตอนเช้าของวันพิธีมีการฆ่าควายแล้วทำอาหารรับประทานกัน มีการต้มเหล้าใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมงและมีการตำข้าวปุก (คือข้าวเหนียวตำคลุกงา)
มีนาคม ประเพณีบวชเณร บวชพระบวชเณรช่วงปิดเทอมคล้ายๆเอาลูกหลานไปฝากพระเลี้ยงดูอบรมดูแลทางด้านจริยธรรม
เมษายน 1.ประเพณีวันสงกรานต์ 2. ก่อเจดีย์ทราย 3. พิธีไล่ผีหมู่บ้าน มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ก่อเจดีย์ทรายช่วงสงกรานต์ด้วยความเชื่อและนับถือในเรื่องผีวิญญาณชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีเสมอ ผีที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือมีอยู่ 2 อย่างคือ ผีดีกับผีร้าย ผีดีคือผีบ้านซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาหมู่บ้านหรือผีเจ้าที่นั่นเอง และผีเรือน คือผีบรรพบุรุษ เช่นผีปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้ว วิญญาณยังคงวนเวียนคุ้มครองลูกหลานอยู่ชาวกะเหรี่ยงจะมีพิธี เซ่น บวงสรวงบูชาผีเรือนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือรอดพ้นจากภัยทั้งปวง นอกจากเลี้ยงผีบ้านผีเรือนแล้วชาวกะเหรี่ยงยังมีพิธีเลี้ยงผีไร่ผีนา ผีป่า ผีดอย อีกด้วย ทั้งนี้โดยอาศัยหมอผีผู้มีความรู้ในเรื่องไสยศาสตร์ เวทย์มนต์คาถา เน้นผู้ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเหล่านี้ซึ่งอาจจะมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่อยู่ตามป่าเขาลำธารทั่วไป คอยลงโทษผู้ที่ผ่านไปให้ได้รับความเดือดร้อนดังนั้น ความเชื่อถือในเรื่องผีและวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง จึงมีผลดีต่อสังคมชาวกะเหรี่ยงอย่างมากและทำให้เกิดคุณธรรมขึ้นเพราะไม่มีใครกล้าทำความผิดแม้แต่ต่อหน้าและลับหลัง เช่นการลักขโมยหรือการผิดลูกผิดเมียผู้อื่นแม้คนไม่เห็นแต่ผีเห็นเสมอเป็นต้น
พฤษภาคม ประเพณีมัดมือช้าง เป็นการมัดมือช้างและขอให้อยู่คู่กับเจ้าของบ้านนานๆ
กรกฏาคม แห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดในหมู่บ้าน เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาทำบุญตักบาตรทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม กี้จือลาขุ พิธีผูกข้อมือกะเหรี่ยงมักนิยมทำกันในงานพิธีมงคลต่างๆเรียกว่ากี่จือ หรือการมัดมือเสร็จแล้วก็เลี้ยงฉลองกันอย่างสนุกสนานรื่นเริง งานประเพณีนี้จะมีการฆ่าไก่และหมูนำมาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ผีและนำมาเลี้ยงกันอย่างทั่วถึงในหมู่บ้านแต่ละแห่ง
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ ในตอนเช้าจัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ร่วมปลูกต้นไม้พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
กันยายน ประเพณีผูกข้อมือ วัว ควาย (หรือทำขวัญ วัว ควาย) เป็นการมัดมือเพื่อให้ออกลูกเยอะๆ
ตุลาคม ออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ที่จำเป็นมาตักบาตรเทโวที่วัดภายในหมู่บ้านชาวบ้านร่วมกันทอดผ้าป่า กฐินมาถวายที่วัดภายในหมู่บ้าน
พฤศจิกายน ลอยกระทง จัดกิจกรรมลอยกระทงภายในบริเวณหมู่บ้านเพื่อเป็นการขอขมาต่อองค์พระแม่คงคา
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ
ธันวาคม ส่งเคราะห์หมู่บ้าน ชาวบ้านจะหาพื้นที่ในการจัดกิจกรรมโดยใช้ที่กว้างนั้นก็คือกลางหมู่บ้านเพื่อเป็นส่วนรวมทำกิจกรรมร่วมกันโดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานเป็นตะแกรงถี่ๆเพื่อที่จะใช้ใส่ของ ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ขนมแห้ง ดอกไม้ และผลไม้ต่างๆ และยังสานตะกร้าน้อยอีก 4 ใบ เพื่อวางดอกไม้ และเศษด้ายมารวมกันแล้วจุดเทียน 2 ดอก ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ในหมู่บ้านช่วยปกป้องปักรักษาและคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข
ธันวาคม ศิลปะการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงตำบลแม่จันทำได้ตลอดปี กะเหรี่ยงในตำบลแม่จันเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ชาวกะเหรี่ยงตำบลแม่จันเป็นนักทอเพราะทอผ้ากันเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่าเสื้อสาวโสดตั้งแต่ยังเยาว์จนได้เวลาออกเรือนจะเป็นเสื้อประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อและนุ่งผ้าถุงคนละท่อนผ้านุ่งและเสื้อจะมีความสั้นยาว ลวดลาย และสีสันหลากหลาย มีการตกแต่งนานารูปแบบ เช่นนำลูกเดือยมาประดับ หรือใช้กรรมวิธีทอยกดอก หรือยกลายเป็นต้นและชาวกะเหรี่ยงโปว์จะประดับประดาตกแต่งมากกว่ากะเหรี่ยงสะกอสำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นอกจากนี้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหญิงชายจะนิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับไม่นิยมใช้เครื่องเงินชิ้นใหญ่เช่นชาวเขาเผ่าอื่น นิยมสวมกำไลอะลูมิเนียมและทองเหลืองโดยเฉพาะสาวกะเหรี่ยงโปว์จะสวมกำไลเกือบทั้งแขนทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปัก
มกราคม ศิลปะด้านการร้องเพลง ทำได้ตลอดปี องค์ประกอบของเพลงกะเหรี่ยงความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกะเหรี่ยงกับชีวิตของชาวเขา กะเหรี่ยงในตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เพลงที่เป็นเพลงพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง 4 ประเภท คือเพลงกล่อมลูก เพลงเกี้ยว เพลงรำแคน และเพลงเกี่ยวกับงานศพเพลงแต่ละประเภทมีทำนองหลักเพียงทำนองเดียวขับร้องได้หลายเนื้อร้องสามารถขยายหรือตัดทอนทำนองได้ตามความยาวของเนื้อร้อง ทั้งทำนองและเนื้อร้องอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ไม่สามารถบอกได้ว่าทำนองใดคือทำนองที่ถูกต้องที่สุดและไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ขึ้นมาเป็นคนแรก โน้ต เพลงกะเหรี่ยงเป็นเพลงพื้นบ้านที่ใช้ขับร้องกันในงานประเพณีและเทศกาลต่างๆภายในหมู่บ้านลีลาของจังหวะและทำนองดำเนินไปองค์ประกอบของดนตรีกะเหรี่ยงมีทำนองเพลงที่เรียบง่ายไม่กระโดดมาก เพลงทุกประเภทใช้จังหวะปานกลางในอัตรา 2 จังหวะเคาะไม่ประสานเสียง คีตลักษณ์ (รูปแบบ)มักใช้แบบเพลงท่อนเดียวดนตรีและเพลงกะเหรี่ยงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตเรียบง่ายตามแบบของชาวชนบทประกอบอาชีพทางการเกษตร เป็นอาชีพหลักขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมศิลปะการแสดง มีเอกลักษณ์ของตัวเองปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปศิลปะการขับร้องฟ้อนรำที่เป็นของชาวกะเหรี่ยงกำลังสูญหายไปตามสภาพความเปลี่ยนแปลงการอนุรักษ์และการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งมีการ
เมษายน ถางไร่เพื่อทำการเกษตร การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกก่อนเข้าสู่ฤดูฝน
กรกฏาคม 1. ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1. ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า หน่อไม้ ลูกเหนียง (มะตึ่งยาง) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านทำนาปี
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม 1.ฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่นเกี่ยวข้าวในนาปีและข้าวไร่ 2.เก็บพืชไร่ เช่น ฟักทอง มันสำปะหลัง 1.ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี และข้าวไร่ 2.ตีข้าวและเก็บผลผลิต
มิถุนายน ปลูกพริก ปลูกข้าวโพด ลงพืชผลทางการเกษตร
พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่นเกียวข้าว

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
พฤษภาคม ปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวไร่ตามฤดูกาล
มิถุนายน ฤดูฝน หาของป่าเช่นหน่อไม้เห็ดโคน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
เมษายน เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในลำห้วยเริ่มลดลง ไม่สามารถใช้น้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้
เมษายน 1.เกิดภัยแล้ง 2.ฟันไร่ 3. เผาไร่ 1.ระดับน้ำในแม่น้ำ....เริ่มลดลง ทำให้ใช้ไฟฟ้าพลังน้ำไม่ได้ 2.ชาวบ้านทำการฟันไร่ของตัวเอง 3. ชาวบ้านเผาไร่และทำการเก็บเศษไม้ที่ไหม้ไม่หมดออกจากกองเพื่อเตรียมการหยอดข้าว
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 1. มีฝนฟ้าคะนอง อากาศแปรป่วน 2. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 3. เวลาเข้าป่าต้องระวังเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ 4. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย 5.ชาวบ้านมีการหยอดข้าวไร่และทำรั้วล้อมไร่เตรียมพื้นที่ทางการเกษตร
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ผู้สูงอายุ


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม