สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
ข้อมูลที่เป็นโอกาส ของชุมชน
โอกาส ผลที่เกิดต่อชุมชน แนวทางประสานโอกาส
อบต.ให้การสนับสนุนภาคการเกษตรในยามที่เกิดภัย เช่น ภัยแล้ง , อุทกภัย ทำให้คนในชุมชนมีเงิน/วัสดุอุปกรณ์ ลงทุนในครั้งต่อไป จัดเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและประเมินความเสียหายแล้วจัดสรรงบประมาณ
เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอให้ความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิต 1. ทำให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิต 2. คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 1. หาความรู้เพิ่มเติมในการเพิ่มผลผลิต 2. เกษตรตำบลให้ความรู้เบื้องต้น
กศน.อำเภอสามเงาสนับสนุนงบประมาณในการจัดกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 1. ทำให้มีอาชีพเสริมสร้างรายได้ 2. ผลผลิตที่เหลือ/ช่วงที่ผลผลิตราคาตกต่ำสามารถทำให้เป็นรายได้เสริม 1. ส่งเสริมกลุ่มเพื่อต่อยอดอาชีพเสริมได้ด้วยตนเอง 2. ประสานหน่วยงานภายนอกมาช่วยต่อยอดอาชีพได้ 3. สร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง
กศน.อำเภอสามเงา สนับสนุนการทำปุ๋ยชีวภาพ 1. เกิดกลุ่มการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำให้มีกลุ่มมีปุ๋ยชีวภาพใช้ในการเกษตร 2. สมาชิกสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชุมชนภายนอกได้ พัฒนากลุ่มการทำปุ๋ยชีวภาพ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลที่เป็นอุปสรรค/ข้อจำกัด ของชุมชน
อุปสรรค/ข้อจำกัด ผลที่เกิดต่อชุมชน แนวทางในการแก้ไข อุปสรรค/ข้อจำกัด
- การจัดสรรงบประมาณของส่วนกลางไม่ตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาของท้องถิ่น ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง และการแก้ปัญหาไม่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของชุมชน 1. เข้าร่วมประชาคมจัดทำแผนพัฒนา 3 ปีของ อบต.
- ภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร - ทำให้ผลิตที่ได้เสียหายและเกษตรกรเป็นหนี้ และให้เกษตรกรไม่มีทุนในการประกอบธุรกิจทำให้ต้องกู้นอกระบบและเป็นปัญหาตามมา มากมาย รวมถึงผู้ประสพภัยบางครั้งมีผู้มีอิทธิพลแอบอ้างเป็นผู้ประสพภัยขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้ผู้ประสบภัยจริงก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ และการช่วยเหลือก็เกิดความโลภระบุบจำนวนพื้นที่ๆประสพภัยเกินจริง - ให้ทางเกษตรอำเภอหรือภาครัฐมีการเข้มงวดในการให้ความช่วยเหลือและดูแลอย่างยุติธรรมมีการตรวจสอบจากภาครัฐอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่
- มีปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขเป็นการมอมเมาเยาวชนก่อให้เกิดปัญหาสังคม - การลอกเรียนแบบทางสื่อและรับวัฒนธรรมทางตะวันตกที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน - เกิดอาชญากรรมในชุมชล วัยรุ่นมั่วสุ่ม เกิดปัญหาสังคม และจัดชุด ชรบ .มีแต่พื้นที่ในการดูและยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร มีกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน ขอความร่วมมือในหมู่บ้านให้ ที่มีจิตอาสา สมัครชุด ชรบ.เพิ่ม ทำให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขและมีกฎระเบียนในการอยู่รวมกันในชุมชน - ของบสนับสนุนจากอำเภอเพิ่มความคุมครองสนับสนุนอาวุธและอาหารสำหรับอาสาสมัครขณะปฏิบัติงานในชุมชน - จัดทำแผนแม่บทของหมู่บ้าน เพื่อแสวงหาความร่วมมือ จากภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านอาชีพ ไม่มีการติดตามประเมินผล และไม่มีการ ถอดบทเรียนร่วมกับชาวบ้าน ทำให้การลงทุนในการพัฒนาอาชีพสูญเปล่า จัดเวทีประชาคม เพื่อถอดบทเรียนและสรุปบทเรียนจากการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ รวมทั้งแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินงาน
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม