สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
การวิเคราะห์ศักยภาพภายใน
ที่ ด้าน / ลักษณะ จุดเด่น / จุดแข็ง จุดอ่อน
1 อาคาร/สถานที่ - มีสถานที่ตั้งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งผู้นำในชุมชนเห็นความสำคัญด้านการศึกษายินยอมให้ใช้สถานที่ของหมู่บ้านเป็น กศน.ตำบล การคมนาคมทางสะดวก ที่ตั้งของ กศน.ตำบล เป็นศูนย์กลางของตำบล - อาคารไม่เป็นเอกเทศ คับแคบ และใช้สถานที่ร่วมกับชุมชนบางครั้งช่วงเวลาการใช้งานตรงกันทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน - ไม่มีค่าใช่จ่ายด้านสาธารณูปโภค
2 โครงสร้าง/การจัดองค์กร มีการจัดองค์กรเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย และกลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ - โครงสร้างยังไม่เด่นชัด - บุคลากรที่รับผิดชอบงานแต่ละฝ่ายยังขาดความชำนาญ - งานแต่ละฝ่ายมากเกินความรับผิดชอบของบุคลากร
3 งบประมาณ - มีงบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรม กศน.ให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพียงพอ - ไม่มีงบประมาณในการพัฒนา/ปรับปรุง กศน.ตำบล - งบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำนักงานไม่เพียงพอ
4 บุคลากร(ทุกประเภท) - บุคลากรร่วมกันจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือก - ครู กศน.ตำบล มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรม กศน. ในชุมชน - ครู กศน.ตำบล ทำหน้าที่ จำนวน 1 คน - ครู กศน.ตำบลปฏิบัติงานหน้าที่หลายด้าน - มีบุคลากรจำนวนน้อย

การวิเคราะห์ศักยภาพภายนอก
ที่ ด้าน / ลักษณะ โอกาส อุปสรรค
1 นโยบายระดับต่างๆ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการเรียนฟรี 15 ปี ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวเห็นความสำคัญของการศึกษาและสมัครเข้าเรียน กศน.เพิ่มขึ้น กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติไม่สอดคล้องและครอบคลุมกับลักษณะของงาน กศน.
2 เศรษฐกิจชุมชน ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางการสื่อสาร ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวต้องการยกระดับความรู้และฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น กลุ่มเป้าหมาย กศน. ส่วนหนึ่งเป็นผู้ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจ จึงมีการย้ายถิ่นสูงส่งผลให้ไม่สามารถเข้ารับบริการ หรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
3 โครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มีความทัน สมัย สะดวก รวดเร็วและครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้ กศน. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มีความทัน สมัย สะดวก รวดเร็ว แต่บางครั้งมีการชำรุด เสียหาย การซ่อมแซมทำได้ล่าช้า เพราะผู้เกี่ยวข้องยังไม่เห็นความสำคัญ
4 การเมืองการปกครองในชุมชน องค์กรท้องถิ่นเห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณและสถานที่ในการดำเนินงาน สังคมส่วนหนึ่งเห็นว่า ผลผลิตของ กศน.ยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
5 ภาคีเครือข่ายการจัดกศน. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล การประชุมปรึกษาหารือบางครั้งภาคีเครือข่ายไม่เข้าร่วมประชุมทำให้การดำเนินงานยังขัดข้อง
6 แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลวังหมันมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและผู้รู้,ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆที่ทำให้ผู้ผู้เรียนศึกษาได้ตามความต้องการ ผู้รู้,ภูมิปัญญาท้องถิ่นบางท่านยังถ่ายทอดประสบการณ์ไม่ได้
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม