สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
การวิเคราะห์ศักยภาพภายใน
ที่ ด้าน / ลักษณะ จุดเด่น / จุดแข็ง จุดอ่อน
1 อาคารสถานที่ -อาคารสถานที่ของ กศน.ตำบลสามเงา มีความมั่นคงและแข็งแรง เหมาะกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ การคมนาคมสะดวก -อาคารไม่มีความเป็นเอกเทศ เพราะเป็นของเทศบาลตำบลสามเงาให้โรงเรียนดูแล
2 โครงสร้าง/การจัดองค์กร -มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม สามารถบริหารจัดการได้ตลอด เวลา มีรูปแบบของ การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ประสบความ สำเร็จ โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากร ชุมชนและได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการสถาน ศึกษา -
3 งบประมาณ -งบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรม กศน. ให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพียงพอ -งบประมาณที่นำมาใช้ในการบริหาร กศน.ตำบล มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอ เช่น วัสดุสำนักงาน ค่าซ่อมแซมวัสดุและครุภัณฑ์
4 ครู กศน. -หัวหน้า กศน.ตำบล เป็นคนในพื้นที่และมีความรู้ประสบการณ์การจัด กศน.ในชุมชน ทำให้มีความเข้าใจของความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถจัดการศึกษา ของ กศน.ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน -มีครู กศน.ที่เป็นพนักงานราชการ ทำหน้าที่ หัวหน้า กศน.ตำบล จำนวน ๑ คน ซึ่งต้องทำงานหลายด้าน เช่น การบริหาร การจัดการเรียนการสอนและการประสานภาคีเครือข่าย ส่งผลต่อการทำงานมีประสิทธิภาพน้อย -รับผิดชอบงานในพื้นที่มากเกินไป ทำให้ทำงานด้านเอกสารไม่ทัน
5 หลักสูตร/กิจกรรม -มีหลักสูตรที่ใช้ในการจัดกิจกรรม กศน. ที่หลากหลาย เช่น หลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง และกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้สามารถจัดการศึกษาได้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน -การจัดทำเอกสารของหลักสูตรรายวิชาเลือกและหลักสูตรการ ศึกษาต่อเนื่องยังไม่เป็นมาตรฐาน
6 สื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวก -มีสื่อเทคโนโลยีอย่างหลาก หลาย เช่น วีซีดี ทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องรับสัญญาณ ดาวเทียม อินเตอร์เน็ต และมีวัสดุอุปกรณ์ เพียงพอ เช่น โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เรียน ชั้นวางหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ -

การวิเคราะห์ศักยภาพภายนอก
ที่ ด้าน / ลักษณะ โอกาส อุปสรรค
1 อาคารสถานที่ -อาคารได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลสามเงาและโรงเรียนอนุบาลบ้านท่าปุย -
2 โครงสร้าง/การจัดองค์กร -นโยบายกระทรวงศึกษาธิการเรียนฟรี ๑๕ ปี ทำให้ประชาชนมีการตื่นตัวเห็นความ สำคัญของการศึกษาและสมัครเข้าเรียนกับ กศน. เพิ่มขึ้น -
3 งบประมาณ -ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนอยู่ในระดับปานกลางพออยู่พอกินทำให้กลุ่ม เป้าหมายในชุมชนสนใจที่จะเรียน กศน. -ไฟฟ้า น้ำประปา มีใช้ทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือน การคมนาคมสะดวก -
4 ครู กศน.ตำบล -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน และผู้ใหญ่บ้านให้การสนับ สนุน ส่งเสริมการจัด กศน. -ได้รับความเคารพนับถือและไว้วางใจจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคนในชุมชน -ไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ -ปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดาร และอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ไม่ค่อยมีความปลอดภัยในการทำงาน
5 หลักสูตร/กิจกรรม -หน่วยงานราชการในพื้นที่ให้การสนับสนุนการจัด กศน. เช่น เทศบาล อบต. เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน กฟผ. โรงพยาบาล ปกครองอำเภอ ฯลฯ -
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม