สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม 1. บุญข้าวใหม่ เป็นเดือนที่ชาวบ้านขึ้นข้าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่นำข้าวใส่ยุ้งฉางโดยจะจัดเตรียมอาหารสำหรับทำบุญ ประกอบด้วย ทำข้าวจี่ ข้าวหลาม ฟืนไม้จี่พระเจ้า ฟางข้าว ข้าวสาร ข้าวเปลือก และจะนิยมปลูกบ้าน จัดงานแต่งงาน งานบวชนาค งานขึ้นบ้านใหม่
กุมภาพันธ์ 1. บูชาศาลพระภูมิ 2. เลี้ยงพ่อหลวง -เป็นการบูชาศาลพระภูมิเพื่อดูแลปกปักรักษาบ้านหรือเจ้าของบ้าน -เป็นการเลี้ยงผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย
มีนาคม 1. เทศน์มหาชาติ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ วัดละ 1 รูป วันละ 1 รูปเพื่อเทศน์ในช่วงเย็น
เมษายน 1. ประเพณีวันสงกรานต์ 2. ประเพณีขึ้นธาตุแก่งสร้อย 3. ประเพณีขึ้นพระพุทธเขาหนาม มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
พฤษภาคม 1. วันวิสาขบูชา ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ในตอนบ่ายมีการฟังเทศน์ ในตอนเย็นทำวัดเย็น และเวียนเทียน
มิถุนายน 1. บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหก มีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟถวายหรือบูชาเทพยดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมืองเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพื่อให้ทำไร่ทำนาได้อุดมสมบูรณ์
กรกฏาคม 1.แห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัด เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม 1.วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
กันยายน 1.ตานก๋วยสลากภัตรหรือ พิธีทำบุญสลากภัตร 2.ประเพณีเรียกขวัญกินข้าวห่อ ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ที่จำเป็นมาใส่ชะลอมทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ ไปสลับกันโดยจะไม่รู้ว่าสลากของตัวเองจะอยู่ที่ใดโดยจะอุทิศให้กับผู้ล่วงลับหรือเจ้ากรรมนายเวณ
ตุลาคม 1.ประเพณีออกพรรษา 2.ประเพณีรับท้องข้าว -ชาวบ้านจะทำขนม เช่นขนมเทียน ข้าวต้มมัด ขนมแตง ขนมกล้วย ขนมจีน และอาหารคราวหวาน ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศให้กับเทวดาเจ้ากรรมนายเวณ -เป็นการรับท้องข้าวโดยการนำผลไม้หรือขนมที่ไม่ได้ทำจากข้าวจากการไปทำบุญที่วัดในตอนเช้านำไปรับท้องข้าวซึ่งเป็นความเชื่อของปู่ ย่า ตา ยาย เชื่อกันว่าข้าวจะออกเต็มร่วง
พฤศจิกายน 1.ลอยกระทง 2.ประเพณีเกี่ยวข้าว 3.ประเพณีรับขวัญข้าว -จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณแม่น้ำวังและจะมีการถวายผ้าทอดตักซึ่งเป็นผ้าเช็ดตัวสำหรับพระภิกษุ -เป็นความเชื่ออีกแบบคือ ผู้ที่เกิดในปีขาลและมะเส็งจะเป็นผู้ที่เริ่มเกี่ยวก่อนเป็นคนแรก(ในภาษาเหนือเรียกว่า?แฮก?) -เป็นการนำข้าวที่ตกหล่นใส่กระบุงหรือตะกร้า ไข่ แป้ง หวี กระจก กล้วย อ้อย และภาวนาอัญเชิญเจ้าแม่โพสพขึ้นสู่ยุ้งฉาง
ธันวาคม 1.วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ถางไร่เพื่อทำการเกษตร 5. ทำประมง 6. จักสานไม้ไผ่ 7. ขับเรือโดยสาร 8. ทอผ้า 9. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว)
กุมภาพันธ์ 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว)
มีนาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง 10.ปลูกข้าวโพด
เมษายน 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง 10.ปลูกข้าวโพด 11.เก็บผักหวาน
พฤษภาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ปลูกข้าวไร่ 10.ปลูกข้าวโพด
มิถุนายน 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ปลูกข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน 11.หาหน่อไม้
กรกฏาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ปลูกข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน 11.หาหน่อไม้
สิงหาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ปลูกข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน 11.หาหน่อไม้
กันยายน 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. ปลูกข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน
ตุลาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. หาเห็ดโคน 10.ปลูกพืชสวน
พฤศจิกายน 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน
ธันวาคม 1. ค้าขาย 2. รับจ้างภาคการเกษตร 3. รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) 4. ทำประมง 5. จักสานไม้ไผ่ 6. ขับเรือโดยสาร 7. ทอผ้า 8. เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ วัว) 9. เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าวไร่ 10.ปลูกพืชสวน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม การถางไร่จะเริ่มในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 2 หรือปลายเดือนมกราคม (สำหรับ ชาวบ้าน หมู่ 1,2,3 ) การถางไร่ของชาวบ้านในตำบลบ้านนาเป็นของพี่น้องชนเผ่าปกากะญอในหมู่ 1-3
กุมภาพันธ์ การถางไร่จะเสร็จสิ้นประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าสมาชิกในชุมชนถางไร่ไม่ได้ชาวบ้านก็จะมาช่วยกัน เพราะจะมีผลต่อการเผ่าไร่
มีนาคม ตากไร่ที่ถางไว้ประมาณ 1 เดือนเพื่อให้ไม้แห้งสนิท ถ้าสมาชิกในชุมชนถางไร่ไม่ได้ชาวบ้านก็จะมาช่วยกัน เพราะจะมีผลต่อการเผ่าไร่
เมษายน ต้นเดือนก็จะเผ่าไร่เพราะบ้างครั้งในช่วงเดือนนี้จะมีฝนตกลงมาเป็นครั้งคราว ชาวบ้านทั้งหมดต้องการให้ไหม้ดีในการเผาไร่ เพราะวัชพืชไม่มาก ข้าวงามดี หลังการเผ่าไร่เป็นการรื้อไร่
พฤษภาคม 1.เก็บรวบรวมไม้ที่ไหม้ไฟไม่หมดมากองและเผา 2.เริ่มเข้าฤดูฝน 3.การหยอดข้าวเริ่มในช่วงปลายเดือน 1.ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2.การเลือกช่วงเวลาจะพิจารณาฝนตกจนดินชุ่มฉ่ำและคาดว่าจะมีฝนตกต่อเนื่องการหยอดข้าวแล้วฝนแล้ง นกจะมากินข้างเชื้อที่หยอดไว้ การคาดการณ์ฝนตกจะใช้พฤติกรรมสัตว์บางชนิด (3) เช่น หิ่งห้อยบินสูงกว่าปกติแสดงว่าฝนจะเริ่มตก หรือเริ่มได้ยินเสียงกบในป่า
มิถุนายน 1. การหยอดข้าวจะสินสุดต้นเดือนมิถุนายน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1. ก่อนการหยอดข้าว เจ้าของไร่ต้องทำพิธีบอกกับพิบุ๊โย หรือแม่โพสพ เพื่อให้พิบุ๊โยลงจากสวรรค์มาคุ้มครองรักษาต้นข้าวให้ปราศจากโรคและศัตรูพืชเบียดเบียน จนกระทั่งเก็บเกี่ยวและนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม 1.ฤดูฝน 2.วัชพืชโตเร็วและต้นข้าวยังเล็ก 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. หลังจากหยอดข้าวแล้ว เจ้าของต้องดายหญ้าเป็นรอบที่ 1
สิงหาคม 1.ฤดูฝน 2.วัชพืชโตเร็วและต้นข้าวยังเล็ก 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. หลังจากหยอดข้าวแล้ว เจ้าของต้องดายหญ้าเป็นรอบที่ 2 ต่อเนื่องกัน เพราะวัชพืชโตเร็ว และต้นข้าวยังเล็ก
กันยายน 1.วัชพืชโตเร็วและต้นข้าวใหญ่ 2.เห็ดโคนออก 1. หลังจากหยอดข้าวแล้ว เจ้าของต้องดายหญ้าเป็นรอบที่ 3 ต่อเนื่องกัน เพราะวัชพืชโตเร็ว และต้นข้าวใหญ่แล้วจึงกำจัดวัชพืชได้เร็วขึ้น 2.ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม 1. ช่วงปลายเดือนตุลาคมข้าวจะสุก 2.เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก 1.ชาวบ้านจะทำการเก็บเกี่ยว ในอดีตการเกี่ยวข้าวและตีข้าวจะเป็นการลงแขกเกี่ยวข้าว หลังจากการเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เจ้าของไร่จะรวบรวมข้าวด้วยการแบกข้าว การแบกจะกองมัดข้าวในเสื่อลำแพนที่เตรียมช่วงเดือนกันยายน แล้วแบกไปกองรวมกัน 2. ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว 1ชาวบ้านเกี่ยวข้าวนาปีและข้าวไร่
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปีและข้าวไร่


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม