สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม 1. ปีใหม่ชนเผ่า เช่น ปีใหม่ม้ง , ปีใหม่จีน และเครารพบรรพบุรุษ เป็นต้น ชาวบ้านตามชนเผ่าจะพบปะญาติพี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัดและภายในหมู่บ้าน เพื่อสังสรรค์ รื่นเริง และทำกิจกรรมร่วมกันตามชนเผ่าของตนเอง
กุมภาพันธ์ 2. ปีใหม่ลีซอ , เคารพบรรพบุรุษ ชาวบ้านตามชนเผ่าจะพบปะญาติพี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัดและภายในหมู่บ้าน เพื่อสังสรรค์ รื่นเริง และทำกิจกรรมร่วมกันตามชนเผ่าของตนเอง
มีนาคม 1. ไหว้บรรพบุรุษ ชาวบ้านจะทำพิธีบูชาบรรพบุรุษ ตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อทำความเคารพนึกถึง และเซ่นไหว้
เมษายน 1. ประเพณีเซ่นไหว้เจ้าบ้าน ชาวบ้านจะทำพิธีบูชายัญ เจ้าบ้านเพื่อขอให้เจ้าที่ปกป้องรักษาคนภายในบ้าน
พฤษภาคม ประเพณีเซ่นไหว้เจ้าที่ไร่ หรือเจ้าที่นา ชาวบ้านจะเซ่นไหว้เจ้าที่ เพื่อขอให้ดูแลพืชผลทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และช่วยปกป้องผู้ใช้ที่ดินให้ปลอดภัยจากลมฟ้าอากาศ และสัตว์ร้าย
มิถุนายน 1. ประเพณีไหว้ฟ้าฝน ชาวบ้านจะนำแหวนเงินมาไหว้เจ้าที่ เพื่อให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล และไม่ให้เกิดลมพายุร้ายแรงทำร้ายพืชผลทางการเกษตร
กรกฏาคม ประเพณีไหว้แม่น้ำ ชาวบ้านจะนำข้าวสุก มาไหว้แม่น้ำเพื่อให้ผี หรือบรรพบุรุษ ที่เฝ้าแม่น้ำ ปกป้องไม่ให้น้ำท่วมพืชผลการเกษตร
สิงหาคม ประเพณีไหว้ผี , สัตว์ ผู้ให้น้ำ ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นมาไหว้ผีน้ำ เพื่อขอให้ผู้เฝ้าแหล่งน้ำไม่ปล่อยน้ำมาทำร้ายพืชผลการเกษตร
ตุลาคม ประเพณีไหว้ลม และ ฟ้า ชาวบ้านจะนำข้าวแกงมาไหว้เพื่อขอให้เทวดา ค่อยๆ ชะลอน้ำฝน และขอให้มีแสงแดดมาเยอะๆ
พฤศจิกายน ประเพณีเกี่ยวข้าว ชาวบ้านจะนำเคียวเกี่ยวข้าวมาวางไว้บน ต้นไม้จำนวน 1 วันก่อนเกี่ยวข้าว เพื่อบอกให้เจ้าที่ว่าจะเริ่มเกี่ยวข้าวในวันถัดไป
ธันวาคม ประเพณีกินข้าวใหม่ ชาวบ้านจะนำชักชวนผู้ที่รู้จัก และญาติพี่น้องมาร่วมกินข้าวใหม่ เพื่อเป็นการแบ่งปัน

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม เป็นช่วงก่อนทำการเพาะปลูกทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะรับจ้างทางงานต่างๆ งานชาวบ้านส่วนมากจะเป็นการรับจ้างงานต่างๆ
กุมภาพันธ์ ช่วงก่อนการเพาะปลูก ชาวบ้านส่วนมากจะทำการรับจ้างหรือทำอาชีพเสริมต่างๆ เช่น ค้าขาย ปักผ้า เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ วัว นกคุ้ม) เป็นต้น
มีนาคม ช่วงเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ชาวบ้านจะเริ่มลงมือถางไร่ เพื่อเตรียมการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร
พฤษภาคม ช่วงเพาะปลูก ช่วงที่ชาวบ้านเริ่มเพราะปลูกข้าวโพค ข้าว พืชผัก และหาของป่า เช่น หาหน่อไม้ สมุนไพร เป็นต้น
มิถุนายน ช่วงเพาะปลูก ชาวบ้านเริ่มปลูกพืชสวน เช่น พริก มะเขือ ฟักทอง
กันยายน ช่วงเกบเกี่ยว ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยว เช่น หักข้าวโพค เก็บมะเขือเทศ เ็นต้น
พฤศจิกายน ช่วงเก็บเกี่ยว ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวพืชผล เช่น เกี่ยวข้าว หักข้าวโพด เป็นต้น

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1. โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2. โรคปากเท้าเปื่อยในวัว 1. ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย 2. เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ เกิดภัยหนาว เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง และไฟไหม้ป่า ระดับน้ำในแม่น้ำ เริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ และเกิดไฟไหม้ป่า
เมษายน 1. เกิดภัยแล้ง 2. เกิดพายุฤดูร้อน 1. ไม่สามารถสูบน้ำจากแม่น้ำ.....เข้าพื้นที่การเกษตรได้ 2. ทำให้บ้านเรือนเกษตรกรหักล้ม ได้รับความเสียหาย
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 3. เริ่มปลูกพืชหลัก 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3. เริ่มปลูกข้าวโพด และข้าวไร่
มิถุนายน 1. ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 3. เริ่มเก็บสมุนไพร 1. ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้ 3. ชาวบ้านเริ่มเข้าเก็บสมุนไพรเพื่อจำหน่ายและเก็บรักไว้เพื่อรักษาครอบครัว
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มปลูกข้าวไร่ 3. ชาวบ้านปลูกกะหล่ำ คะน้า ฯลฯ
สิงหาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านปลูกข้าวไร่
กันยายน ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านปลูกข้าวไร่
ตุลาคม 1. เริ่มปลูกพริก และมะเขือเทศ 2. ฝนเริ่มตกน้อยลง 1. ชาวบ้านเริ่มปลูกพริก และมะเขือเทศตามร่องแปลงข้าวโพด 2. เริ่มเก็บข้าวโพด
พฤศจิกายน - เริ่มเข้าฤดูหนาว - เก็บเกี่ยวและขายข้าวโพด - เริ่มเกี่ยวข้าว - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก - เก็บเกี่ยวข้าวไร่ และข้าวโพด จนถึงตกลงราคาขาย
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น - ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด - วัวเริ่มเจ็บเท้าเนื่องจากอากาศหนาว


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม