สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
การวิเคราะห์ศักยภาพภายใน
ที่ ด้าน / ลักษณะ จุดเด่น / จุดแข็ง จุดอ่อน
1 เช่น ด้านบุคลากร 1.มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู 2.บุคลากรเป็นคนในพื้นที่ ทำให้มีความคล่องตัวและการประสานงานที่ดี 3.มีครู กศน.ตำบลครบทุกตำบลจึงสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 4. มีประสบการณ์การทำงาน ในพื้นที่น้อย 6 เดือน 5. บุคลากรมีมนุษย์สัมพันธ์ มีความสามารถในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทำให้สามารถดำเนินงาน กศน. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. มีอัธยาศัยดีและมีสัมพันธภาพในการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชน 7. บุคลกรของหน่วยงานจบมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ 1. เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชาที่สอน 2. บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทำ ให้ปฏิบัติงานไม่คล่องตัวเท่าที่ควร 3. บุคลากรบางส่วนขาดความรอบคอบ ในการปฏิบัติงาน
2 ด้านโครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา 1. การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดและต้นสังกัด 2. นโยบายการกระจายอำนาจทำให้สถานศึกษา เกิดความคล่องตัวใน การทำงานมากขึ้น 3. มีการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทุกคนเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในเวลาเดียวกัน 4. หน่วยงานเป็นที่ยอมรับของสังคม 5.บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานในเรื่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง กศน.อำเภอและ สนง. กศน.จังหวัดตาก 6. มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว 7. มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาคู่มือนักศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา 1. ขาดเทคนิค วิธีการ ในเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกันคุณภาพ2.นโยบายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทำให้การดำเนินงานไม่ ต่อเนื่อง 3.ขาดการประชาสัมพันธ์ กศน. ตำบลอย่างเป็นระบบ 4. การบริหารงานไม่ชัดเจนเกิดการทำงานที่ซับซ้อน 5. ขาดการควบคุมการปฏิบัติงาน ที่ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
3 ด้านผลผลิตและการบริการ 1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 2. การให้บริการในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งสายสามัญ สายอาชีพและอัธยาศัย อย่างทั่วถึงทุกตำบล 1. ไม่สามารถสนองตอบทุกความต้องการของชุมชน ได้ตามเงื่อนไข งบประมาณ 2. การทำหลักสูตรบูรณาการยังไม่มีการพัฒนาให้สมบูรณ์จากสภาพปัญหาและความต้องการ
4 ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. มีคณะกรรมการ กศน.ตำบล ที่มีความรู้และให้การสนับสนุนด้วยความเต็มใจ มีอาสาสมัคร กศน. ที่มีความรู้ความสามารถ และมีจิตอาสา 6. มีหัวหน้า กศน. ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และการประสานงานกับ ผู้นำท้องถิ่นได้ 7. ศูนย์การเรียนชุมชน สามารถจัดกิจกรรมในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและมีความหลากหลายทั้ง การศึกษาขั้นพื้นฐาน,การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการจัดกระบวนการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการงานกำหนดเป้าหมายทำงานอย่างชัดเจน โดยมี กศน.อำเภอ ขับเคลื่อนเป็นแนวทางในการพัฒนางาน และครู กศน. 9. ผู้บริหารมีความรู้ ประสบการณ์ และให้ความสำคัญกับนโยบาย จุดเน้น สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคลากร ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างมีคุณภาพ 5. การติดตามประเมินผลภายหลังการจัดกิจกรรมอาจจะไม่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ต้องการงบประมาณการทำงานต่อเนื่อง 6. ประชากรวัยแรงงานและแรงานต่างด้าวพากันอพยพออกนอกพื้นที่ มีเด็กและคนชรา ก่อให้เกิดสังคมอ่อนแอ 7. อัตราการเรียนต่อมัธยมปลายต่ำและขาดการเชื่อมโยงบูรณาการตั้งแต่ระดับจังหวัด ,อำเภอ และตำบล 8.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายอยู่ในอัตราสูง เกิดความแห้งแล้งทำให้เกิดผล กระทบทางการเกษตรและปัญหาสังคม 9.ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและการบริการคุณภาพยังไม่ได้มาตรฐาน
5 5. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน 1. นักศึกษามีความเชื่อมั่นในครูผู้สอน จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 2. มีนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้ความสนใจ และใช้บริการ 3. มีแผนการสอนแบบบูรณาการ มีความสามารถ ปฏิบัติงานได้ทุกงานตามคำสั่ง และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4. มีแหล่งศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย . มีการจัดการเรียนการสอนเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. การจัดการเรียนการสอนเน้นความ แตกต่างระหว่างบุคคล 7. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับผู้เรียน 8. ส่งเสริมกระบวนการคิดเป็น เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น 9.มีแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่รู้จักแพร่หลาย ก่อให้เกิดการจ้างงานที่หลากหลาย 10. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความพร้อมในการให้การสนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆของ กศน.และหน่วยงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 11.มีแหล่งการศึกษาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีศักยภาพ เยาวชน/ประชาชนตื่นตัวด้านกีฬา 12. ศูนย์การเรียนชุมชนตั้งอยู่กลางหมู่บ้านใกล้ชุมชนสามารถเดินทางได้ง่ายและสะดวก 1. ประชากรวัยแรงงานและแรงานต่างด้าวพากันอพยพออกนอกพื้นที่ มีเด็กและคนชรา ก่อให้เกิดสังคมอ่อนแอ 2. นักศึกษามาพบกลุ่มไม่สม่ำเสมอ 3. ตำบลส่วนใหญ่ไม่มีอาคารปฏิบัติงานเป็นของตัวเอง 4. ครูคนเดียวไม่สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพทุกวิชา 5.อาคารของ กศน.ตำบลมีขนาดเล็กจึงมีปัญหาในการบริหารจัดการและจัดกิจกรรม 6. ขาดกระบวนการแนะแนวการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและไม่ทั่วถึง
6 ด้านการเงิน 1. มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนที่วางไว้ 2. ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมบางส่วน 3. ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 1. เงินรายได้สถานศึกษามีน้อยขาด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ทำให้กิจกรรมขาดความต่อเนื่อง 2. ขาดสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการปฏิบัติงาน 3. ครุภัณฑ์ / อุปกรณ์ ในการเรียนการ สอนวิชาชีพไม่เพียงพอ

การวิเคราะห์ศักยภาพภายนอก
ที่ ด้าน / ลักษณะ โอกาส อุปสรรค
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม