สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม 1.เดือน สี่จี่ข้าวหลาม 2.ถวายบ้านน้อย -เอาข้าวใหม่ถวายวัด -เผาข้าวหลาม/ถวายข้าวหลาม -ถวายข้าวเปลือก
กุมภาพันธ์ 1.เลี้ยงผีบ้าน ประพิธีงานบุญและวันสำคัญต่างๆภายในหมู่บ้าน
มีนาคม -บวชพระ (งานมงคลต่างๆ) -ถวายบ้านน้อย ประพิธีงานบุญและวันสำคัญต่างๆภายในหมู่บ้าน
เมษายน 1. บรรพชาและอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน 2. ขนทรายข้าววัด 3. รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 4. กิจกรรมวันสงกรานต์ 5. งานบุญบั้งไฟ จัดกิจกรรมบรรพชาและอุปสมบทหมู่ในภาคฤดูร้อนที่วัดปากวัง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และให้เยาวชนตลอดจนผู้ที่สนใจได้ศึกษาธรรมะและวิชาการต่างๆในช่วงปิดภาคเรียนมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน จัดกิจกรรมงานบุญบั้งไฟ และแข่งขันการจุดบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้าน
กรกฏาคม 1. แห่เทียนเข้าพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันแห่เทียนจำนำพรรษาและถวายเทียนพรรษาให้กับวัดของตนเอง
สิงหาคม 1. วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ จากนั้นตอนเย็นร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพร
ตุลาคม 1. ตานก๋วยสลากภัตร 2. ทอดผ้าป่าสามัคคี ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ที่จำเป็นมาถวายทานที่วัดของตน พร้อมกับทอดผ้าป่าสามัคคี
พฤศจิกายน 1. ประเพณีลอยกระทง จัดกิจกรรมลอยกระทงสายในหมู่บ้านพร้อมประกวดโคมลอยและประกวดกระทงของแต่ละหมู่บ้าน
ธันวาคม 1. วันพ่อแห่งชาติ 2. บวงสรวงศาลเจ้าแม่อุษา 3. บวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมือง จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ จัดกิจกรรมบวงสรวงศาลเจ้าแม่อุษาประกอบพิธีกรรมตามศาสนาและพร้อมบวงสรวงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มิถุนายน 1. ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1. ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี 3. ชาวบ้านทำการเกษตรปลูกข้าวโพด
สิงหาคม ฤดูฝน ฝนตกหนัก 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านทำนาปี
กันยายน ฤดูฝน 1. ชาวบ้านเข้าไร่ดูแลพืชผลทางการเกษตรของตนเอง 2. ฝนตกน้ำท่วมทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายในบางส่วน
ตุลาคม 1. เริ่มปลูกถั่วเขียว 2. ปลูกอ้อย 1. ชาวบ้านเริ่มปลูกถั่วเขียว 2. ชาวบ้านปลูกอ้อยตามฤดูกาล

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1. โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2. โรคปากเท้าเปื่อยในวัว 1. ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย 2. เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในแม่น้ำ....เริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้
เมษายน 1. เกิดภัยแล้ง 2. เกิดพายุฤดูร้อน 1. ไม่สามารถสูบน้ำจากแม่น้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 2. ทำให้พืชผลทางการเกษตรล้มตาย สร้างความเสียหายในพื้นที่ทางการเกษตร
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. ทำให้พืชผลทางเกษตรเสียหายเนื่องจากน้ำท่วม 3. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
พฤศจิกายน 1. เริ่มเข้าฤดูหนาว 2. เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร 1. อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรประเภทข้าว และถั่วเขียว
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี 3. ชาวบ้านเริ่มตัดอ้อยเพื่อขายส่งโรงงาน


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม