สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม กินข้าวใหม่, กวนข้าวทิพย์ (ปากะญอ) ชาวปากะญอ ในชุมชนมาเข้าพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยใช้หญิงสาวพรหมจารีเป็นผู้กวน โดยมีส่วนผสมต่างๆคือ งาขาว, เม็ดลูกบัว, น้ำอ้อย มะพร้าว, ข้าวเหนียวใหม่
มกราคม เผาข้าวหลาม, ตาลข้าวใหม่ ชาวบ้านจะนำเข้าเหนียวใหม่ที่ได้จากการเพาะปลูก มาเผาข่าวหลาม และนำไปถวายพระสงฆ์ ที่วัดในวันพระ
มกราคม ก่อไฟผิงพระเจ้า (ไม้จี้) ช่วงเดือนมกราคมจะมีอากาศหนาว ชาวบ้านในตำบลแม่กุ จะมีประเพณี ก่อไฟผิงพระเจ้า (ไม้จี้) คือชาวบ้านจะช่วยกันตัดไม่ฟืน และนำมาถวายวัด
กุมภาพันธ์ เทศน์มหาชาติ ร่วมกันจัดงานบุญเทศน์มหาชาติที่วัดปากวัง เป็นเวลา 2 วัน มีการทอดผ้าป่า และจัดเลี้ยงน้ำปานะแก่ผู้มาฟังเทศน์มหาชาติ
กุมภาพันธ์ ทอดผ้าป่าสามัคคี ชาวบ้านมักจะจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำเงินมาทำนุบำรุงวัดวาอาราม ที่ชำรุดทรุดโทรม หรือใช้งบประมาณในการต่อเติมศาสนสถานต่างๆ เช่นโบสถ์ หรือซื้อที่ดินเพื่อเป็นธรณีสงฆ์
เมษายน ปีใหม่เมือง (ปากะญอ) ชาวเขาเผ่าปากะญอจะจัดงานประเพณีเพื่อฉลองปีใหม่
เมษายน ปีใหม่เมือง (ปากะญอ) ชาวเขาเผ่าปากะญอจะจัดงานประเพณีเพื่อฉลองปีใหม่เมืองโดยจะมีการละเล่นพื้นบ้านของขาวปากะญอ และงานฉลองต่างๆ
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ค้าขาย, รับจ้างภาคการเกษตร, รับจ้าง(ในเมือง), ปลูกข้าวโพดฤดูแล้ง+กระเทียม, ตัดไม้ไผ่ทำเครื่องจักรสาน, ขับรถโดยสารรับส่งนักเรียน, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์
มกราคม ค้าขาย, รับจ้างภาคการเกษตร, ปลูกข้าวโพดฤดูแล้ง, ทำเครื่องจักรสาน, ขับรถโดยสารรับส่งนักเรียน, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์(หมู,ไก่,วัว,แพะ)

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1. โรคอหิวาห์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2. โรคปากเท้าเปื่อยในวัว 1. ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย 2. เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้ 3. ต้นอ้อยเริ่มออกดอก ชาวบ้านจะทยอยตัดอ้อยเพื่อส่งโรงงาน ผลิตเชื้อเพลิง (เอทานอล)
มีนาคม เกิดภัยแล้ง 1. ไม่สามารถสูบน้ำจากลำห้วยเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 2. ทำให้พืชไร่ แห้งตาย สร้างความเสียหายในพื้นที่ทางการเกษตร 3. ชาวบ้านในที่ลุ่ม เริ่มเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกและหว่านเมล็ดข้าวโพด 4. น้ำประปาหมู่บ้าน ไม่เพียงพอต่อการใช้สอย ในชุมชน
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. ทำให้ต้นข้าวโพด และพืชไร่หักล้ม สร้างความเสียหายในการเกษตร 3. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน เริ่มมีหน่อไม้ออกตามธรรมชาติ มากขึ้น 1. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้ และบางบ้านก็ทำหน่อไม้ดอง (หน่อส้ม) ไว้รับประทานหน้าแล้ง หรืเอาไว้ออกจำหน่ายในฤดูแล้ง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี 3. ชาวบ้านห้กข้าวโพด เพื่อนำออกจำหน่าย 4. หว่านถั่วเขียว (ถั่วมัน) ลงในแปลงข้าวโพด
สิงหาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น, ชาวบ้านทำนาปี
ตุลาคม 1. เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก 2. ฝนตกหนัก 1. ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่านไข่เหลือง 2. ถั่วเขียวเริ่มแก่ แต่ถ้าฝนยังไม่หยุดตก ก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ คือจะทำให้ถั่วเขียวงอกและเน่า
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม