สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
ประวัติความเป็นมา ของชุมชน
พื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมาปัจจุบันเป็นตำบลที่แยกพื้นที่การปกครองจากตำบลพะวอ ซึ่งเป็นพื้นที่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ร.1) เมื่อปี พ.ศ.2328 พม่ายกทัพโจมตีไทยครั้งใหญ่ โดยจัดกำลัง 9 ทัพ ทางด้านทิศตะวันตกพม่ายกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และทางด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยแต่งตั้งนายด่านชื่อขุนพะวอ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ทำหน้าที่เป็นนายด่านสกัดกั้นกองทัพพม่า จนเป็นที่กล่าวขานในความสามารถในการรบของขุนพะวอ จุดที่ตั้งของด่าน คือ แนวเนินดินตั้งแต่โรงเรียนบ้านแม่ละเมาถึงวัดเชตะวันคีรี ตำบลพะวอ การรบในครั้งนี้ขุนพะวอได้ขอกำลังไปยังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ทางเจ้าเมืองตากได้นำกำลังไปช่วยในเมืองหลวงเสียก่อน ขุนพะวอนายด่านแม่ละเมาจึงตัดสินใจนำกำลังเท่าที่มีอยู่เข้าตีทัพพม่าที่ขุนเขาพะวอ ขุนพะวอชูง้าวนำหน้าไพร่พลเข้าต่อสู้กับทัพพม่าด้วยใจอันห้าวหาญ ต่อสู้กันจนตายเกลื่อนทั้งสองฝ่าย นายด่านและทหารกล้าสู้จนเสียชีวิต ณ ยุทธภูมิด่านแม่ละเมาเชิงเขาพะวอแห่งนั้น ด่านแม่ละเมาจึงเป็นหมู่บ้านร้างจนถึงปี พ.ศ. 2395 สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ได้มีชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ชาวไทยล้านนาเข้ามาอาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงได้จัดตั้งเป็นตำบลพะวอ ในสมัยแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง (ร.5) ประมาณ พ.ศ. 2448 เป็นต้นมา พื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมาปัจจุบันเป็นตำบลที่แยกพื้นที่การปกครองจากตำบลพะวอ ซึ่งเป็นพื้นที่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ร.1) เมื่อปี พ.ศ.2328 พม่ายกทัพโจมตีไทยครั้งใหญ่ โดยจัดกำลัง 9 ทัพ ทางด้านทิศตะวันตกพม่ายกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และทางด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยแต่งตั้งนายด่านชื่อขุนพะวอ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ทำหน้าที่เป็นนายด่านสกัดกั้นกองทัพพม่า จนเป็นที่กล่าวขานในความสามารถในการรบของขุนพะวอ จุดที่ตั้งของด่าน คือ แนวเนินดินตั้งแต่โรงเรียนบ้านแม่ละเมาถึงวัดเชตะวันคีรี ตำบลพะวอ การรบในครั้งนี้ขุนพะวอได้ขอกำลังไปยังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ทางเจ้าเมืองตากได้นำกำลังไปช่วยในเมืองหลวงเสียก่อน ขุนพะวอนายด่านแม่ละเมาจึงตัดสินใจนำกำลังเท่าที่มีอยู่เข้าตีทัพพม่าที่ขุนเขาพะวอ ขุนพะวอชูง้าวนำหน้าไพร่พลเข้าต่อสู้กับทัพพม่าด้วยใจอันห้าวหาญ ต่อสู้กันจนตายเกลื่อนทั้งสองฝ่าย นายด่านและทหารกล้าสู้จนเสียชีวิต ณ ยุทธภูมิด่านแม่ละเมาเชิงเขาพะวอแห่งนั้น ด่านแม่ละเมาจึงเป็นหมู่บ้านร้างจนถึงปี พ.ศ. 2395 สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ได้มีชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ชาวไทยล้านนาเข้ามาอาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงได้จัดตั้งเป็นตำบลพะวอ ในสมัยแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง (ร.5) ประมาณ พ.ศ. 2448 เป็นต้นมา เมื่อมีการแยกตำบลใหม่ในพื้นที่เดิมของตำบลพะวอ เพื่อไม่ให้ชื่อทางประวัติศาสตร์ไทยสูญหายและถูกลืม จึงตั้งชื่อตำบลใหม่เป็นตำบลด่านแม่ละเมาในปัจจุบัน


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม