สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ประเภททรัพยากร ลักษณะแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะการใช้ประโยชน์
นายจอแปร เจตนาการกิจ บ้านเลขที่ 107 ม.7 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นบุคคลที่สร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน 1.ใช้หลักประชาสังคม และการปกครองแบบชนเผ่า 2.เป็นผู้นำ และผู้ประสานงานชาวบ้านให้ช่วยเหลืองานส่วนรวมในชุมชนเสมอ 3.เป็นหมอตำแย ช่วยทำคลอดให้กับคนในหมู่บ้าน 4.เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องงานฝีมือการทำเครื่องทอผ้าพื้นเมืองแบบใช้กี่เอว งานไม้ฝีมือต่างๆ เช่น โต๊ะเล็ก ๆ ใช้กินข้าว ตู้เก็บของ ฯลฯ
นายท้าทาย ทรัพย์กิจเกษตร บ้านเลขที่ 143 ม.7 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นบุคคลที่คอยประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการกับชาวบ้านในชุมชนเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน 1.เป็นผู้มาร่วมประชุมกับหน่วยงานราชการในอำเภอ แล้วนำสาระการประชุมมาแจ้ง ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบ และเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของทางราชการ 2.เป็นผู้นำ และคอยให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่างๆ ที่ต้องมาติดต่อกับหน่วยงานราชการที่อำเภอ 3.เป็น อสม.หมู่บ้าน ทำหน้าที่ตรวจเจาะหาเชื้อไข้มาลาเรีย และจ่ายยารักษาโรคมาลาเรียในชุมชน 4.เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องงานก่อสร้างต่างๆ เช่น งานไม้ งานปูน และคอยเป็นผู้น้ำช่วยเหลืองานต่างๆ ในชุมชนเสมอ 5.เป็นเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าของเขตทุ่งใหญ่นเรศวรคอยเป็นผู้นำสมาชิกของหมู่บ้านในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าในเขตชุมชนที่รับผิดชอบ
ไก่พื้นเมือง รูปร่างเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 1- 2 ก.ก. แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี 1.เป็นอาหารเสริมโปรตีน 2.ใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อของชนเผ่า 3.แพร่พันธุ์เร็ว รสชาติดี
หมูพื้นเมือง ลำตัวยาว หน้าย่น สีดำ โตเร็ว ลูกดก 1.เป็นอาหารเสริมโปรตีน 2.เป็นอาชีพเสริมรายได้ 3.ใช้ในพิธีการแต่งงานของชนเผ่า
เป็ดเทศ เป็นเป็ดพื้นเมืองสีดำมีแต้มขาว ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย น้ำหนักดี ไข่ดก 1.เป็นอาหารเสริมโปรตีน 2.ใช้ขายเป็นรายได้เสริม
วัวพันธุ์พื้นเมือง ตัวขนาดปานกลาง ลำตัวมีสีครีมจนถึงดำ ตกลูกปีละครั้ง 1.ใช้เป็นแรงงานเทียมเกวียน 2.เป็นอาชีพเสริมรายได้
ควายพันธุ์พื้นเมือง ตัวใหญ่ น้ำหนักมาก ตกลูกปีละครั้ง 1.เป็นแรงงานในการไถนาทำนา 2.เป็นอาชีพเสริมรายได้ มีราคาดี
ป่าไม้ชุมชน หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก หน่วยอนุรักษ์ และชาวบ้านจึงกำหนดให้พื้นที่ป่าไม้โดยรอบหมู่บ้านรัศมีสิบกิโลเมตรเป็นป่าไม้ชุมชนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่า 1.เป็นแหล่งต้นน้ำ 2.เป็นแหล่งอาหารของชุมชน 3.เป็นแหล่งวัตถุไม้ชนิดต่างๆ ในการปลูกสร้างบ้านเรือน ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน 4.เป็นแหล่งยาสมุนไพร 5.เป็นแหล่งสืบทอดประเพณี 6.เป็นแหล่งเรียนรู้การดำรงชีวิตจากธรรมชาติ ฯลฯ
ลำห้วยยูไนท์ เป็นแหล่งต้นน้ำ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดทั้งปี 1.เป็นแหล่งต้นแม่น้ำแม่จัน 2.เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาแม่น้ำชนิดต่างๆ 3.เป็นแหล่งอาหารของชุมชน 4.เป็นแหล่งน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่ป่าแถบนี้ และเป็นแหล่งน้ำกินของสัตว์ป่าต่างๆ
สภาพชุมชนบ้านยูไนท์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมีการตั้งบ้านเรือนแบบไม่เป็นระเบียบ บ้านทำด้วยไม้ไผ่สับเป็นฟากหลังคา ใช้ใบตองตึง หรือใบหวายเย็บเป็นตับต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ สองปี ลักษณะนิสัยความเป็นอยู่ไม่สร้างคุณค่า และการดำเนินชีวิต
ข้าวกะเหรี่ยง 1.เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง เม็ดเล็กมีลักษณะป้อมสั้น มีทั้งแบบข้าวนา ข้าวไร่ ข้าวเหนียว และข้าวเหนียวดำ ปลูกปีละครั้ง 2.เป็นอาหารหลักของชาวบ้าน มีรสชาติหอมอร่อย อาจจะมีรสชาติแตกต่างกันบ้างนิดหน่อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูก 1.ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง เนื่องจากชาวบ้านใช้วิธีการปลูกแบบสืบทอดกันมา แต่ดั้งเดิม ไม่มีหลักวิชาการใหม่ๆ มาใช้ในการเพาะปลูก และไม่ได้ใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีใด ๆ ในการเพิ่มผลผลิต 2.ชาวบ้านจะมีปัญหาข้าวไม่พอกินตลอดทั้งปีอยู่บ้างเป็นบางครอบครัวที่มีพื้นที่การทำนาน้อย และสภาพดินฟ้าอากาศในปีนั้นทีมีผลต่อผลผลิตข้าว
พริกกะเหรี่ยง 1.เป็นผลผลิตจากป่าใช้ส่วนอ่อนหรือหน่อของต้นหวายที่ขึ้นเองมากมายตามธรรมชาติในป่านำมาเป็นอาหาร 2.เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการจักสานให้เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้หลายรูปแบบ 3.เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจักสานสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยหวาย 4.อาจจะเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านได้ถ้ามีผู้สนับสนุนหาแหล่งตลาดให้ 1.ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง เนื่องจากชาวบ้านใช้วิธีการปลูกแบบสืบทอดกันมาแต่ดั้งเดิม ไม่มีหลักวิชาการใหม่ๆ มาใช้ในการเพาะปลูก และไม่ได้ใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีใดๆ ในการเพิ่มผลผลิต 2.ส่วนมากชาวบ้านจะถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบในเรื่องราคาที่แตกต่างกันมากๆ เมื่อมารับซื้อถึงพื้นที่จะให้ราคาพอสมควร และเมื่อออกสู่ท้องตลาดราคาจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 50% ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับรายได้ดีอย่างที่น่าจะเป็น 1.ในท้องถิ่นมีอยู่มากมาย แยกเป็น 2 ชนิด คือหวายหวาน และหวายขม ชาวบ้านนิยมนำมาต้มทานกับน้ำพริกกะเหรี่ยง 2.ปัจจุบันในท้องถิ่นมีผู้ที่มีความชำนาญในการนำต้นหวายมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้อย่างสวยงามนั้น มีอยู่น้อยมาก
ข้าวโพดพื้นเมือง 1.ใช้เป็นอาหารในท้องถิ่นทั้งคน และสัตว์เลี้ยง 2.เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ใช้ปลูกแทรกในไร่พริกเพื่อนำมาเป็นอาหาร 1.ในแต่ละปีจะปลูกกันไม่มาก จุดประสงค์เพื่อนำมาบริโภคมากกว่าจะนำไปจำหน่าย และมีบางครอบครัวไม่ได้ปลูกเพราะไม่มีเมล็ดพันธุ์ จึงน่าเป็นห่วงว่าจะเริ่มสูญพันธุ์ 2.ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมากนักเนื่องจากมีรสชาติจืด ฝักเล็ก เมล็ดเล็ก เหมาะสมจะนำไปเป็นอาหารเสริมให้แก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ มากกว่า
ฟักทองพื้นเมือง 1.เป็นฟักทองท้องถิ่นมีผลขนาดปานกลาง ผิวเรียบ เนื้อเหลืองสวย แต่ไม่ค่อยมันเท่าที่ควร 2.เป็นอาหารของคนในท้องถิ่น 3.เป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับบริโภคเพื่อเพิ่มพูนสารอาหารให้แก่คนในท้องถิ่น 1.จะใช้บริโภคภายในครัวเรือนปีละครั้ง ไม่ได้ปลูกไว้เพื่อจำหน่าย 2.เป็นพืชที่ยังมีอยู่มากในท้องถิ่นเนื่องจากชาวบ้านจะเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อเอาไว้ปลูกทุกปี
ฟักเขียวพื้นเมือง 1.มีผลสีเขียว มีผงสีขาวนวลเคลือบผิวภายนอก เนื้อสีขาว มีทั้งขนาดเล็กหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม จนถึงใหญ่หนักประมาณ 10 กิโลกรัม 2.ใช้เป็นอาหารทั้งของคน และของสัตว์เลี้ยง 1.ปลูกกันมากภายในไร่พริก มักนำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก 2.มักนำมาให้หมูกินเป็นอาหารเสริมเพื่อให้โตเร็ว
แตงกวาพื้นเมือง 1.เป็นแตงกวาพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม 2.ใช้เป็นอาหารเหมือนกับผักทั่วๆ ไป นิยมนำไปต้ม ผัด รับประทานกับน้ำพริก 1.ปลูกกันมากภายในไร่พริก 2.มีบางพันธุ์จะมีรสขมจึงนำมาใช้เลี้ยงหมูเพื่อทำให้หมูโตเร็ว
แตงไทยพื้นเมือง ใช้บริโภคในลักษณะเป็นผลไม้มากกว่า ผลไม่ใหญ่นัก เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ชาวบ้านมักจะรับประทานเล่นๆ บางปีจะได้ผลผลิตไม่มากเพราะมีแมลง หรือสัตว์ไปรบกวนทำให้เสียหาย
ชะอมป่า มีมากในฤดูฝน ขึ้นเองในป่าตามธรรมชาติ แต่มักเป็นเถาเลื้อยอยู่บนต้นไม้สูงทำให้ยากแก่การเก็บเพื่อนำมาบริโภค ยังคงมีอยู่มากมายภายในป่ารอบๆ บริเวณหมู่บ้าน แต่จะได้บริโภคเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น
ผักกูด 1.เป็นอาหารที่ให้คุณค่าโภชนาการ 2.ขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ 3.เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งต้นน้ำ ปัจจุบันปริมาณเริ่มลดลงเนื่องจากนำไปขายได้ และถูกควายที่เลี้ยงปล่อยไว้กินเป็นอาหาร
ไม้ไผ่และหน่อไม้ป่า 1.เป็นต้นหญ้าที่มีความสำคัญและมีความหมายที่สุดสำหรับวิถีชิวิตของชาวกะเหรี่ยงใช้ทำสารพัดตั้งแต่บ้านเรือนไปจนถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิต 2.ในป่านี้มีหลากหลายชนิดทั้งขนาดเล็กที่เรียกว่าไผ่รวก ขนาดกลางไผ่ป่า ไผ่ข้าวหลาม และขนาดใหญ่สุดคือไผ่หก เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของลำต้น 3.หน่อไม้ใช้ประกอบอาหารได้สารพัดรูปแบบต้มผัดแกงทอด หรือจะดองเก็บเอาไว้กินนานๆ ก็ได้ 1.ไม้ไผ่ทางอนุรักษ์อนุญาตให้ตัดเฉพาะใช้ปลูกสร้างบ้านเรือนและใช้งานที่จำเป็นเท่านั้น ห้ามตัดทำลายหรือตัดเพื่อขายเป็นรายได้เด็ดขาดและห้ามนำไม้ไผ่ออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด 2.หน่อไม้ทุกประเภทอนุญาตให้เก็บบริโภคได้แต่ห้ามนำหน่อไม้ออกจากเขตพื้นที่โดยเด็ดขาด
กล้วยไม้ป่า 1.เป็นพืชที่หายากมีเฉพาะท้องถิ่น หรือเฉพาะบางพันธุ์เท่านั้น 2.เป็นที่นิยม และต้องการกันมากในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบ 3.เป็นไม้ประดับที่สวยงาม หายาก มีราคาแพง เป็นที่นิยมกันทั่วโลก 4.สามารถซื้อขายกันเป็นสินค้าได้ ในปัจจุบันเมื่อมีผู้นิยมกันมากขึ้น และมีราคาทำให้กล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ ได้ถูกลักลอบนำออกจากป่า ไปขาย ทำให้เริ่มสูญพันธุ์


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม