สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ทำบุญข้าวใหม่ ชาวบ้านช่วยกันนำข้าวที่เก็บเกี่ยวจากไร่และจากที่นาเอาไปทำขนมหรือทำข้าวหลามแจกแบ่งกันกิน
กุมภาพันธ์ ทำบุญยาฮู่ ชาวบ้านช่วยกันทำขนมเพื่อถวายพระและแบ่งกันกินลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดงผสมมะพร้าวและงาทำเพื่อสืบดวงชะตา
มีนาคม มัดมือวัว,มัดมือควาย ทำบุญใหญ่กลุ่มต้นทะเล มัดมือสัตว์หลังจากใช้งานหรือก่อนใช้งานการเกษตร การทำบุญเจดีย์ของกลุ่มต้นทะเล
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ - รดน้ำ ดำหัวผู้สูงอายุและขออวยพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำบุญให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว -ทำบุญตัดไม้ค้ำต้นโพธิ์
กรกฏาคม แห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดกุยเคลอะ เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ตุลาคม วันออกพรรษา ชาวบ้านร่วมกันทอดผ้าป่า และแห่ผ้าป่ามาถวายเพื่อบูรณะซ่อมแซมวัด
พฤศจิกายน ป่อตะกู คล้ายประเพณีลอยกระทงชาวบ้านในหมู่บ้านช่วยกันนำผลไม้และดอกไม้มาใส่ในแพไม้ไผ่แล้วอธิฐานขอพรแล้วปล่อยไหลตามลำน้ำ
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ
เมษายน 1.เผาไร่ 2.ปลาวางไข่ 1. เกิดควันไฟปกคลุมหมู่บ้าน 2. ปลาพลวงขึ้นมาวางไข่หาดทรายเขตอนุรักษ์
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. ทำให้ที่อยู่อาศัยเสียหาย 3. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน 1. ปลูกพืชผลการเกษตร 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1. ชาวบ้านเริ่มปลูกพืชผลการเกษตร 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านทำนาปี
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม 1. เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก 2. ฝนตกหนัก 1. ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง 2. น้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร ตลิ่งริมแม่น้ำพัง
พฤศจิกายน 1. เริ่มเข้าฤดูหนาว 2.เก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตร 3. ปลูกต้นยาสูบ ผัก 1.อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวไร่ ข้าวนาปี 3. ปลูกต้นยาสูบ และผัก ตามหาดทรายริมห้วย
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี ข้าวโพด ถั่วลิสง
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี ข้าวโพด ถั่วลิสง

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม 1. อากาศหนาวจัด 2. เก็บใบยาสูบ 3. ฟันไร่ 1.เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก 2. เก็บใบยามาหันฝอย และตากเก็บ 3. ฟันไร่การเกษตรสำหรับเพาะปลูก
กุมภาพันธ์ 1.ฟันไร่ 2.ทำใบตองมุงหลังคาบ้าน 3.เผาไร่ 1.ฟันไร่การเกษตรสำหรับเพาะปลูก 2.ซ่อมแซมหลังคาบ้าน นักเรียนมาเรียนน้อย 3.เกิดควันไฟปกคลุมหมู่บ้าน
มีนาคม 1.ฟันไร่ 2.เผาไร่ 3.ทำบุญเจดีย์ 4.ปลาวางไข่ 1.ฟันไร่การเกษตรสำหรับเพาะปลูก 2.เกิดควันไฟปกคลุมหมู่บ้าน 3.ทำบุญใหญ่เจดีย์กลุ่มต้นทะเลที่มอทะ 4.ปลาพลวงขึ้นมาวางไข่หาดทรายเขตอนุรักษ์

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม