สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม กินข้าวใหม่ ร่วมกันจัดงานกินข้าวใหม่โดยทุกบ้านจะหุงข้าวใหม่แล้วนำไปให้พ่อแม่ของตนและนำไปถวายพระที่วัดเป็นการบูชาผู้มีพระคุณและบูชาพระ
เมษายน สงกรานต์ เล่นลูกสะบ้า กินข้าวแช่ ขอขมาต้นไม้ จะจัดทำบุญวันสงกรานต์ สรงน้ำพระโดยตักน้ำจากกลางลำห้วยแล้วนำเครื่องหอมเช่นขมิ้น รากพืชหอม ใส่เพื่อสรงน้ำพระ ตอนเย็นสวดพระปริตรมีการทำน้ำมนต์แล้วนำกลับไปปะพรมที่บ้านของตนเพื่อขจัดสิ่งที่ไม่ดี กลางวันมีการเล่นลูกสะบ้า มีการทำข้าวแช่ถวายพระและกินในครอบครัว จากนั้นเจ้าวัดจะนำไปทำพิธีขอขมาต้นไม้ให้อยู่เย็นเป็นสุขและมีอายุยืน
พฤษภาคม ทำผีแต่ละครอบครัว แต่ละครอบครัวจะทำผีตามประเพณีของตน โดยลูกหลานจะมารวมกันที่บ้านพ่อแม่ กินข้าวร่วมกัน และมัดมือ
กรกฏาคม ทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษา แห่ผ้าป่า ชาวบ้านจะนำขี้ผึ้งมาหล่อหลอมเป็นแท่งเทียน แล้วแห่ไปถวายพระที่วัดพร้อมผ้าไตรจีวร และพุ่มผ้าป่าที่แต่ละบ้านทำหรือรวมกันทำหลายๆบ้าน จากนั้นจะสวดมนต์ทำบุญตามปกติ
สิงหาคม มัดมือเดือนเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนเก้า ตอนเช้าจะร่วมกันทำบุญที่วัด แล้วชาวบ้านจะทำพิธีมัดมือให้ลูกหลาน คนแก่ ครู เพื่อเป็นการเรียกขวัญ และให้อายุยืนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
กันยายน ทำบุญเครื่องบิน เชื่อกันว่าเป็นการปลดปล่อยสิ่งไม่ดีให้ไปกับเครื่องบินเพื่อให้ตนและครอบครัวมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง ชาวบ้านจะนำไม้ ไม้ไผ่ หวาย มาทำเครื่องบินแล้วนำไปวางไว้กลางลานวัด จากนั้นจึงนำสิ่งของที่มีอยู่มาใส่ในเครื่องบิน เช่น ข้าว ฟักทอง มะพร้าว กล้วย ต้นอ้อย และประดับด้วยดอกไม้ให้สวยงาม ตอนเช้าทำบุญสวดมนต์บนวัดหลังสวดมนต์เย็นจะต้องลงมาพิธีสวดมนต์และไหว้เครื่องบินด้วย
ตุลาคม ทำบุญออกพรรษา ยกธง ตอนเย็นสวดพระปริตรและทำน้ำมนต์ไปปะพรมบ้านของตน เช้ามีพิธีทำบุญและยกธงที่ชาวบ้านช่วยกันทอด้วยด้ายและไม้ไผ่แผ่นบางๆเชื่อกันว่าถ้าธงยาวและปักเสาให้สูงจะได้บุญมาก
พฤศจิกายน กวนข้าวทิพย์ ลอยกระทง วันขึ้น 14 ค่ำเดือน12 ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยนำหัว 7 อย่างและเม็ด 7 อย่าง คั่วตำละเอียดแล้วนำมาผสมกันกวนจนเกือบสว่างเชื่อกันว่าเมื่อผสมทุกอย่างรวมกันรสชาตจะเหมือนน้ำนมแม่ใครที่ได้เข้ากวนข้าวทิพย์ติดต่อกันถึง3ปีเหมือนได้บวชแทนคุณพ่อแม่ ตี4 แห่ไปถวายพระและคนที่เคารพนับถือ เช้าทำบุญวันลอยกระทง เย็นสวดมนต์และทำแพที่ใส่สิ่งของที่มีอยู่ทุกอย่าง เช่น ข้าว อ้อย กล้วย มะพร้าว ฟักทอง ฯลฯเพื่อขอขมาพระอุปกุที่ช่วยรักษาน้ำให้มีกินมีใช้
ธันวาคม ทำบุญยุ้งข้าว เป็นการขอบคุณที่ปีนี้ได้ข้าวดีและขอให้ปีหน้าให้ได้ดีอย่างนี้อีก ชาวบ้านจะช่วยกันทำยุ้งข้าวเล็กๆที่กลางลานวัดจากนั้นนำข้าวที่บ้านของตนมาใส่ในยุ้งคนละเล็กน้อย รวมทั้งพืชผลในไร่ทุกชนิด มีการประดับประดาด้วยดอกไม้ ใบไม้ที่สวยงาม ตอนเช้าทำบุญ ตอนเย็นสวดมนต์ทำพิธีไหว้ยุ้งข้าวและมีการร้องเพลงฟ้อนรำเฉลิมฉลองด้วย
กันยายน น้ำกัดเท้า เนื่องจากการทำนาที่ต้องแช่ในน้ำนานๆทำให้เกิดแผลที่ระหว่างง่ามนิ้วเท้าและจะมีอาการคันมาก

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม นำข้าวใหม่ขึ้นยุ้ง เก็บใบตองตึง เก็บผักขาย นำข้าวใหม่เก็บขึ้นยุ้ง ออกเก็บใบตองตึงในเวลาเช้ามืด ผักสวนครัวเริ่มขายได้
กุมภาพันธ์ ฟันไร่ ตำข้าวไว้กินในฤดูฝน ไพใบตอง ชะอมเริ่มออก หาที่ไร่เก่าเพื่อฟันไร่ ตำข้าวด้วยครกตำข้าวพลังน้ำเพื่อเก็บไว้กินในฤดูฝน ไพใบตองตึงสำหรับไว้ทำหลังคาบ้านและหลังคายุ้งข้าว ฝนเริ่มตกบ้างชะอมเริ่มแตกยอด
มีนาคม ตำข้าวไว้กินในฤดูฝน ปลูกบ้านใหม่/ซ่อมบ้าน เผาไร่/รื้อไร่ ทำรั้วไร่ ตำข้าวด้วยครกตำข้าวพลังน้ำเพื่อเก็บไว้กินในฤดูฝน ปลูกบ้านใหม่ /ซ่อมแซมหลังคาบ้าน/ซ่อมแซมหลังคากระท่อมที่ไร่นา ใบไม้ต้นไม้ที่ฟันไร่เริ่มแห้งต้องเผาก่อนฝนตก ใช้ไม้ไผ่ทำรั้วกันวัวกันควายเข้าไร่นา
เมษายน เก็บฟืน ปลูกพริก ดอกดิน/ผักหนาม/ดอกกระเจียวเริ่มออก เก็บไม้แห้งมาผ่าไว้ทำฟืนเพื่อใช้ตลอดปี เริ่มหยอดเมล็ดพริกในไร่ ดอกดิน/ผักหนาม/ดอกกระเจียวเริ่มออกหลังจากฝนตก
พฤษภาคม ปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวโพด/พืชไร่ทุกชนิด หน่อไม้/เห็ดถอบเริ่มออก หลังจากที่ฝนตกติดต่อกันจนดินชื้นชาวบ้านจะเริ่มหยอดข้าวไร่ เริ่มปลูกข้าวโพดและพืชไร่ทุกชนิดพร้อมกับการหยอดข้าว หน่อไม้ใต้ดินเริ่มออกพร้อมเห็ดถอบ
มิถุนายน ดายหญ้าในไร่ เห็ดโคนใหญ่เริ่มออก หน่อไม้ไร่เริ่มออก หญ้าในไร่เริ่มยาวชาวบ้านจะดายหญ้าด้วยแรงงานในครอบครัว เห็ดโคนดอกใหญ่จะออกในช่วงนี้ หน่อไม้ไร่เริ่มออก
มกราคม ปั้นคันนา ไถนา หว่านกล้า เห็ดโคนดำเริ่มออก ชาวนาเตรียมพื้นที่นาสำหรับทำนา เริ่มไถนา หว่านกล้าไปพร้อมเพื่อรอการปักดำ เห็ดโคนดำดอกขนาดกลางเริ่มออกแทบทุกกอไผ่มีแต่เห็ด
สิงหาคม ปลูกข้าวในนา ดายหญ้าในไร่ เห็ดโคนดำเริ่มออก เริ่มปักดำข้าวในนา ดายหญ้าในไร่ข้าวรอบที่2 เห็ดโคนดำยังมีให้กินอีกรอบ
กันยายน ตัดหญ้าในนา เห็ดโคนสายเริ่มออก ตัดหญ้าในนาข้าว เห็ดโคนที่มีลักษณะก้านเป็นสายยาวประมาณ 1 ฟุตเริ่มออก
ตุลาคม เกี่ยวข้าวไร่ เก็บพริก ผักกูดเริ่มออก ชาวบ้านที่ทำไร่ข้าวจะเริ่มทยอยเกี่ยวข้าวไร่ของตนและบางครั้งมีการลงแขกช่วยเพื่อนบ้านเกี่ยวด้วย พริกในไร่เริ่มแก่ชาวบ้านจะเริ่มเก็บพริกแล้วนำมาตากเป็นพริกแห้ง น้ำในลำห้วยแม่จันเริ่มลดระดับเนื่องจากฝนเริ่มตกน้อยลงผักกูดจะเริ่มแตกยอดอ่อนตลอดแนวริมลำห้วย
พฤศจิกายน เกี่ยวข้าวในนา นวดข้าวไร่ ปลูกผักสวนครัวที่บ้าน ชาวบ้านที่ทำนาจะเริ่มเกี่ยวข้าวนา ชาวบ้านที่ทำข้าวไร่จะรวมกองข้าวและนวดด้วยควายหรือบางบ้านที่ไม่มีควายจะใช้วิธีตีข้าวในเวลากลางคืนที่นวดข้าวจะมีการละเล่นต่างๆเช่นตี มะพร้าว ปีนเสาเอาเงิน เจ้าของข้าวจะเลี้ยงข้าวและขนม เช่นข้าวเหนียว แกงเนื้อ เป็นต้น ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษบริเวณพื้นที่ข้างบ้าน ผักที่ปลูกได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักชี คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้
ธันวาคม เกี่ยวข้าวในนา นวดข้าวนา บางบ้านที่ปลูกข้าวนาช้ากว่าบ้านอื่นๆจะเริ่มเกี่ยวข้าวนาแล้วมัดรวมกอง รวมข้าวนาและนวดข้าวแล้วตวงว่าได้จำนวนเท่าไร ( นับเป็นปิ๊บ )

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม อากาศหนาวเย็น โรคผิวหนัง ผิวหนังแห้งแตก ริมฝีปากแตก บางคนเป็นโรคผิวหนังเนื่องจากไม่อาบน้ำหรือไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า
กุมภาพันธ์ อากาศเริ่มอุ่นขึ้น เนื่องจากใกล้เปลี่ยนเป็นฤดูร้อน
มีนาคม อากาศค่อนข้างร้อน อาจทำให้หงุดหงิดอารมณ์เปลี่ยนง่าย
เมษายน แมลงวันมาก โรคท่องร่วง เป็นช่วงที่มีผลไม้สุก เช่น ขนุน มะม่วง ทำให้มีแมลงวัน แมลงหวี่เพิ่มขึ้น บางครั้งเกิดอาการท้องร่วงจากอาหารที่ไม่สะอาดมีแมลงตอม
พฤษภาคม ฝี ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีแมลงเล็กๆเยอะชาวบ้านจะเป็นฝีกันมาก
มิถุนายน ไข้มาลาเรีย ไข้หวัด เป็นช่วงที่มีฝนตกน้ำขังในแอ่งยุงจะชุกชุมซึ่งเป็นพาหะของไข้มาลาเรีย ฝนตกมากขึ้นทำให้บางคนเป็นไข้หวัดและบางครั้งมีอาการไอร่วมด้วย
กรกฏาคม ฝนตกตลอดทั้งเดือน โรคผิวหนัง ทำให้เป็นไข้หวัด เนื่องจากไม่ซักเสื้อผ้าหรือตากไม่แห้งไม่มีแดดทำให้อับชื้น
สิงหาคม โรคผิวหนังและฝี เกิดการอักเสบจากแมลงกัดหรือเชื้อโรคที่ผิวหนังจากการเปียกชื้นหรือจากเสื้อผ้าที่ไม่สะอาด
ตุลาคม อากาศเริ่มเปลี่ยนฝนตกน้อยลงและช่วงปลายเดือนจะเริ่มหนาวเย็น ไข้มาลาเรียชุกชุม จะมีอาการของไข้หวัดและบางคนมีอาการไอร่วมด้วยเนื่องจากอากาศเริ่มเปลี่ยนฤดู เนื่องจากฝนเริ่มน้อยลงจะมียุงตัวเล็กๆเยอะมากชาวบ้านจะป่วยเป็นมาลาเรีย
พฤศจิกายน เป็นช่วงอากาศหนาว ผิวหนังแห้งแตก ริมฝีปากแตก
ธันวาคม อากาศหนาวเย็น โรคผิวหนัง ผิวหนังแห้งแตก ริมฝีปากแตก บางคนเป็นโรคผิวหนังเนื่องจากไม่อาบน้ำหรือไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม