สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ประเภททรัพยากร ลักษณะแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะการใช้ประโยชน์
ด้านป่าไม้ เป็นป่าชุมชน จำนวน 200 ไร่ มีจำนวน 2 แห่ง แห่งที่ 1 มีจำนวน 50 ไร่ สภาพป่าเป็นป่าไผ่ แห่งที่ 2 มีจำนวน 150 ไร่ สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น เช่น ต้นไม้กฤษณา ต้นไทร ต้นโพธิ์ ฯลฯ ป่าชุมชนทั้ง 2 แห่งนี้ จะเป็นป่าที่ได้ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ป่ากินได้ ป่าฟืน ป่าใช้สอยหรือสร้างบ้าน และป่าเพื่อการอนุรักษ์ 1.เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของคนในชุมชน และของป่าอื่นๆ รวมทั้งยาสมุนไพร 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ในของเยาวชนและคนในชุมชนชุมชน 3.ด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น การจักสาน ใช้เป็นฟืน ถ่านก่อสร้างอาคารบ้านเรือน 4.อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ลดการตัดไม้ทำลายป่า 5.ช่วยสร้างความเข้าใจและสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 6.เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า 7.ช่วยเพิ่มพูรายได้สำหรับคนในชุมชน 8.เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสื่อมโทรมให้กับมามีความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10.ทำให้เกิดความหวงแหนและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง 11.เป็นไม้ให้ร่มเงาพืชเศรษฐกิจอื่น 12.เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์
ด้านสมุนไพร สมุนไพรแก้อาการกลุ่มโรคกระเพาะ 1.ขมิ้นชัน 2.กล้วยน้ำว้า 1.นำเหง้าแก่สด ล้างให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดด 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน 2.ผลดิบหรือห่าม รับประทานครั้งละครึ่งผล-หนึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
ด้านสมุนไพร สมุนไพรแก้อาการท้องผูก 1.มะขาม 1.ใช้ใบแห้ง 1-2 กำมือครึ่งต้มกับน้ำดื่ม ผู้หญิงหรือมีประจำเดือนห้ามรับประทาน
ด้านสมุนไพร สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย 1.ฝรั่ง 2.ฟ้าทะลายโจร 1.ใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ปิ้งไฟและชงน้ำรับประทานหรือใช้ผลอ่อน 1 ผลฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน ใบสด 2-3 ใบเคี้ยวและคายทิ้งหลังรับประทานอาหารจะช่วยระงับกลิ่นปาก 2.นำใบฟ้าทะลายโจรสดล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง(ห้ามตากแดด)บดเป็นผงให้ละเอียดปั้นกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอนผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้งและมิดชิด รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
ด้านสมุนไพร สมุนไพรรักษาอาการไอ และระคายคอจากเสมหะ 1.ฟ้าทะลายโจร 2.ขิง 1.ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด 1-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการไอ 2.เหง้าขิงฝนกับน้ำมะนาวหรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมกับน้ำต้มสุกเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
ด้านสมุนไพร สมุนไพรแก้อาการขัดเบา(ปัสสาวะไม่ค่อยออก กะปริบกะปรอยรู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด) 1.กระเจี๊ยบแดง 1.นำเอากลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม)ชงกับน้ำเดือด1 ถ้วย(250 มิลลิลิตร)ทิ้งไว้ 5-10นาที รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่ม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจรกว่าอาการขัดเบาจะหายไป
ด้านสมุนไพร สมุนไพรรักษาอาการกลากเกลื้อน 1.กระเทียม 2.ข่า 1.ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อยๆหรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กหรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็นพอให้ผิวแดงๆก่อน แล้วจึงเอากระเทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆหรือวันละ3-4 ครั้งเมื่อหายแล้วทาต่ออีก 7 วัน 2.เอาหัวข่าแก่ๆล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาด บริเวณที่เป็น ใช้ไม้บางๆเขี่ยให้ผิวแดงๆและใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
ด้านสมุนไพร สมุนไพรเพื่อรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 1.บัวบก 2.ว่านหางจระเข้ 1.เอาบัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดและตำให้ละเอียด คั้นน้ำและเอาน้ำทาชะโลมบริเวณที่เป็นแผลให้ชุ่มคออยู่เสมอในชั่วโมงแรก(ใช้กากพอกด้วยก้ได้ ต่อจากนั้นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนหาย) 2.เลือกใบว่านที่อยู่ส่วนกลางของต้น ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดที่สะอาด ล้างยางให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำด่างทับทิม ขูดเอาวุ้นใสมาทาบริเวณแผลให้ชุ่ม
ด้านสมุนไพร สมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดฟัน 1.ข่อย 2.ผักคราดหัวแหวน 1.ใช้เปลือกต้นสดขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้น ต้มกับน้ำพอสมควรและใส่เกลือให้มีรสเค็ม ต้มนาน 10-15 นาที เอาน้ำขณะที่ยังอุ่น อมบ่อยๆ 2.ใช้ดอกสดประมาณพอเหมาะกับเกลืออมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวด
ด้านสมุนไพร สมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เคล็ดขัด ยอก 1.ไพล 1.ใช้เหง้า1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทา ถูบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้ำให้ความร้อนประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำเช้าเย็น จนกว่าหาย
ด้านสมุนไพร สมุนไพรเพื่อรักษาโรคหิดเหา 1.น้อยหน่า .นำเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ดหรือใบสดประมาณ 1 กำมือ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะแล้วใช้ผ้าโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงและสระผมให้สะอาด
ด้านต้นไม้ หรือพืชต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์ในชุมชนท้องถิ่น 1.ดอกหญ้าไม้กวาด 2.ก้านมะพร้าว 3.ใบตองตึง หญ้าคา ไม้ 4.พืชสีธรรมชาติ เช่น ใบฝรั่ง ใบมะม่วงฯลฯ 5.ไม้ไผ่ หวาย 6.ต้นปอ 7.ต้นสบู่ 8.ใบงา 9.ต้นสับปะรดป่า หรือต้นกกป่า ไม้ไผ่ 10.ดอกฝ้าย 11.ต้นกฤษณา ต้นประดู่ 12.ต้นไม้ซ่อ 13.เปลือกไม้ 1. คนในชุมชนจะนำมาทำเป็นไม้กวาดใช้ในครัวเรือน 2.นำเอาก้านของมะพร้าวมาทำเป็นไม้กวาดก้านมะพร้าว 3.นำมามุงหลังคาบ้าน 4.นำมาใช้ในการย้อมสีด้ายสำหรับทอผ้า 5.นำมาใช้ในการหัตถกรรม เช่น การสานกระด้ง ตะกร้า ฯลฯ 6.นำเปลือกมาทำธนู สายเบ็ด แห 7.นำผลที่แก่มาทุบให้แตกละเอียด มาถูกับผ้า ซักให้สะอาด 8.นำใบมาขยี้ แล้วนำมาสระผม 9.นำมาทอเป็นสื่อ 10.นำเอาฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วนำมาทอเสื้อ ผ้าห่ม ฯลฯ และนำฝ้ายมายัดไส้หมอน 11.ใช้สำหรับในการแกะสลัก เช่น แกะสลักพระพุทธรูป 12.นำมาทำครก 13.นำมาย้อมแห
ด้านแหล่งน้ำ จุดต้นน้ำ คือ ห้วยตองโกร เป็นแหล่งน้ำภูเขา 1.เกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติ 2.ใช้ในการอุปโภค บริโภคและการนำไปใช้ในการดำรงชีวิต 3.เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 4.เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและคนในชุมชน 5.เป็นการอนุรักษ์ป่าไม้และแหล่งต้นน้ำ 6.ใช้ในการเกษตร 7.ช่วยเพิ่ม และชะลอความ ชุ่มชื้นของแหล่งต้นน้ำลำธาร ฟื้นฟูสภาพป่าและพื้นที่ลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ 8.เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ป่าต้นไม้ให้เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9.ช่วยสร้างจิตสำนึกความเข้าใจและสำนึกในการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร 10.เป็นแหล่งท่องเที่ยว 11.เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของชนิดพืชและสิ่งมีชีวิต


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม