สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ประเพณีส่งเคราะห์บ้าน ชาวบ้านนำข้าวสุกหัวหม้อที่ยังไม่ได้กิน เกลือ พริก อย่างละหน่อยเอามารวมกันในถาดกลางหมู่บ้านตอนใกล้ค่ำและถ่มน้ำลายใส่ลงในถาด เสร็จแล้วทำพิธีปัดเป่าเอาสิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วคนแก่ในหมู่บ้านเอาสิ่งของที่มารวมกันไปไว้นอกหมู่บ้าน
กุมภาพันธ์ - -
มีนาคม ประเพณีมัดมือ แต่ละบ้านจะทำพิธีมัดมือ คนในครอบครัวทุกคนจะมาพร้อมกัน
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
พฤษภาคม - -
มิถุนายน - -
กรกฏาคม - -
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
กันยายน - -
ตุลาคม ประเพณีส่งเคราะห์บ้าน ชาวบ้านนำข้าวสุกหัวหม้อที่ยังไม่ได้กิน เกลือ พริก อย่างละหน่อยเอามารวมกันในถาดกลางหมู่บ้านตอนใกล้ค่ำและถ่มน้ำลายใส่ลงในถาด เสร็จแล้วทำพิธีปัดเป่าเอาสิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วคนแก่ในหมู่บ้านเอาสิ่งของที่มารวมกันไปไว้นอกหมู่บ้าน
พฤศจิกายน ลอยกระทง จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณห้วยวาแหมะคี
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม รับจ้างนอกภาคการเกษตร ประชากรวัยแรงงานเข้าเมืองเพื่อรับจ้างทั่วไป
กุมภาพันธ์ ถางไร่เพื่อทำการเกษตร คนในครอบครัวช่วยกันถางไร่เพื่อเตรียมทำการเกษตรต่อ
มีนาคม ถางไร่เพื่อทำการเกษตร คนในครอบครัวช่วยกันถางไร่เพื่อทำการเกษตร
เมษายน ตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง เก็บน้ำผึ้งเพื่อขาย
พฤษภาคม ปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวไร่ในบริเวณพื้นที่ท่ีเตรียมไว้
มิถุนายน ปลูกพืชสวน ปลูกพืชสวนลงในพื้นที่เช่นฟักทอง ฟักเขียว แตง
กรกฏาคม หาหน่อไม้ หาหน่อไม้ขายเพื่อเป็นรายได้เสริม
สิงหาคม หาหน่อไม้ หาหน่อไม้ขายเพื่อเป็นรายได้เสริม
กันยายน ดูแลพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง ถางหญ้า พ่นยา ใส่ปุ๋ย
ตุลาคม ดูแลพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง ดูแลพืชสวน เช่นพริก มะเขือ ฟักทอง ฟักเขียว แตง
พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวผลผลิต เก็บเกี่ยวผลผลิตจากข้าวไร่
ธันวาคม ทอผ้า พักผ่อนจากการทำงานและใช้เวลาว่างในการทอผ้า

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม โรคอหิวาไก่ (โรคขี้ขาว) ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในห้วยเริ่มลดลง
เมษายน 1. เกิดภัยแล้ง 2. เกิดพายุฤดูร้อน ไฟไหม้ป่า
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน 1.ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2.น้ำในห้วยไหลเชี่ยวกราก 3.เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน 1. ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1.ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1.พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2.ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน 1.พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2.ชาวบ้านทำนาปี
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม 1. เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก 2. ฝนตกหนัก 1.ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง 2.ตลิ่งริมห้วยพัง
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1.ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2.ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม