สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ทำบุญข้าวใหม่ ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บมาจากไร่นาใหม่ๆบ้านละ1ถังไปเทรวมกันที่วัดแล้วพระก็ทำพิธีเพื่อระลึกถึงบุญคุณของข้าวเสร็จพิธีแล้วก็เอาข้าวเปลือกนั้นถวายวัด
กุมภาพันธ์ 1.แต่งงาน 2.ทำบุญหย่าฮุ -เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใครต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้างครอบครัว -ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวไปรวมกันที่วัดและช่วยกันเก็บเงินไปซื้อเครื่องเทศมี 7 อย่าง ได้แก่ งา ถั่วลิสง ขิง กระเทียม ดอกจันทร์ พริกไทย มะพร้าว มาคนรวมกันชาวบ้านจะช่วยกันทำจนเสร็จ แล้วพระสวดมนต์เทศนาจนจบก็จะแบ่งหย่าฮุหรือข้าวทิพย์นี้ให้ชาวบ้านทุดคน เชื่อกันว่ากินแล้วจะช่วยเสดาะเคราะห์
เมษายน 1.ประเพณีวันสงกรานต์ 2.มัดมือปีใหม่ - มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ของวันที่ 13 เมษายน ในวันที่ 14 เมษายน จะไม่มีการทำบุญหรือทำพิธีต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านจะถือว่าวันนี้เป็นวันเน่า คือวันไม่ดี วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน - ชาวบ้านจะทำข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวตำ ต้มเหล้า และฆ่าหมู่หรือไก่แกงแล้วให้คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านมา
พฤษภาคม เลี้ยงผีฝาย (ลึทีบอ) ชาวบ้านจะขอขมาแม่น้ำ เพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง ไก่ 2 ตัว และเหล้า 1 ขวด เป็นของเซ่นไหว้
กรกฏาคม เลี้ยงผีไร่/ผีนา (แสะขึ/แสะจิ) -เป็นพิธีเพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง กับข้าว 1 อย่าง 1 กระทง เหล้า 2 ขวด ไก่ 3 ตัว มาเป็นของเซ่นไหว้ แต่ถ้าบ้านไหนมีหมูก็นำหมูมาเป็นของเซ่นไหว้ด้วยก็ได้
สิงหาคม มัดมือลาขุ -เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุ
ธันวาคม พิธีเลี้ยงนกเหยี่ยว (โทะบีคะ) - ชาวบ้านเชื่อว่า ในช่วงระหว่างการทำนา/ไร่ข้าว จะมีนกชนิดหนึ่งอยู่ปกปักคุ้มครองรักษาข้าวที่อยู่ในนาและในไร่ข้าว เพื่อให้ข้าวที่อยู่ในนา/ไร่ ได้ผลผลิตงอกงามและมีความอุดมสมบูรณ์ โดยในการเซ่นไหว้ จะนำข้าวเปลือกใส่ไว้ในยุ้งข้าวที่กลางนา/ไร่ เหล้า 1 ขวด (ใส่ไว้ในกลางยุ้งข้าว) ไก่ 3 ตัว (ของเซ่นไหว้จะยังไม่นำกลับแต่จะค้างไว้ที่พิธี 1 วัน เพื่อให้นกได้พักผ่อน วันถัดไปจึงสามารถนำของเซ่นไหว้กลับมาที่บ้านได้
สิงหาคม มัดมือลาขุ -เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน โดยทุกบ้านจะต้องเข้าร่วมพิธี

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ในการทำไร่ ชาวบ้านจะเริ่มไปจองที่ที่จะทำไร่เพื่อทำการเพาะปลูก
กุมภาพันธ์ ถางไร่ ชาวบ้านเริ่มถางไร่
มีนาคม 1. ถางไร่ 2. ปลายเดือนเริ่มเผาไร่ 1. ชาวบ้านเริ่มถางไร่ 2. ชาวบ้านเริ่มเผาไร่ ทำให้เกิดหมอกควัน และมีอากาศร้อนอบอ้าว
เมษายน ซาวบ้านว่างงาน เป็นซ่วงที่ซาวบ้านพักผ่อนจากการทำไร่ทำนา
พฤษภาคม เริ่มปลูกข้าวไร่และพืซไร่อื่นๆ ซาวบ้านที่ทำไร่ข้าวก็จะซ่วยกันไปปลูกข้าวและเวียนกันไปทีละไร่ ส่วนคนที่ทำนาจะเริ่มไปดูแลทำความสะอาดเหมืองนาและปล่อยน้ำลงในนา
มิถุนายน เริ่มมีของป่า (หน่อไม้),ผักกูดกบ อึ่งอ่างเริ่มออกมา ปลาออกไข่ ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) กบ อึ่งอ่าง ผักต่างๆ ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ไถนา คราดนา และปลูกข้าวในนา ชาวบ้านเริ่มไถนาหว่านข้าวเปลือก ดายหญ้า คราดนาแล้วก็ปลูกข้าวในนา
สิงหาคม ดูแลพืซผักในไร่และในนา ชาวบ้านเริ่มดูแลพืชผลที่ปลูกเช่นดายหญ้า ใส่ปุ๋ยข้าวโพด
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้ และดายหญ้าไร่ข้าว
ตุลาคม ข้าวเริ่มออกดอกออกรวง ชาวบ้านหยุดการดายหญ้าในไร่ข้าว
พฤศจิกายน ข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ในนาข้าว
ธันวาคม แบกข้าว ขนข้าวเก็บในยุ้ง ชาวบ้านแบกข้าวจากไร่นามาเก็บไว้ในยุ้งข้าว

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม มีอากาศร้อนอบอ้าว สภาพแวดล้อมแห้งแล้ง อากาศร้อนอบอ้าว
เมษายน แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ อากาศร้อนมาก น้ำในห้วยแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอในการอุปโภคบริโภค
พฤษภาคม 1.เริ่มเข้าฤดูฝน 2.เกิดพายุฤดูฝน 1.ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2.ต้นไม้ล้มขวางทาง
มิถุนายน ฝนตกหนัก ทางลื่น การคมนาคมลำบาก
กรกฏาคม ฤดูฝน ฝนตกหนัก . พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
สิงหาคม ฤดูฝน ฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
กันยายน ฤดูฝน ฝนตกหนัก การคมนาคมลำบาก
ตุลาคม - ฝนตกน้อยลง การคมนาคมดีขึ้นเนื่องจากดินแห้งขึ้น
พฤศจิกายน อากาศเริ่มหนาวในเวลาตอนเซ้าและตอนเย็น อากาศเริ่มหนาวในเวลาตอนเซ้าและตอนเย็น และในเวลากลางคืนจะหนาวมาก
ธันวาคม อากาศหนาวมาก อากาศหนาวมากในเวลากลางคืนจนถึงเซ้า และอากาศจะร้อนในเวลากลางวัน


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม