สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
ธันวาคม ส่งเคราะห์หมู่บ้าน (วอฮิ) -ชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานเป็นตะแกรง เพื่อที่จะใส่ของซึ่งประกอขอให้สิ่งด้วย ข้าว ขนม ดอกไม้ ผลไม้ต่างๆอีกทั้ง เศษด้ายมารวมกัน แล้วจุดเทียน 2 เล่ม ขอขมาสิ่งศักดิ์ และขอให้ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในหมู่บ้านปกป้องรักษาคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข
มกราคม -ขึ้นปีใหม่/มัดมือขึ้นปีใหม่ -ประเพณีแต่งงาน -เป็นการรวมตัวของลูกหลานเพื่อทำพิธีมัดมือ/ผูกข้อมือให้อยู่เย็นเป็นสุขเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว -เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เสร็จจากการทำไร่ทำนา ว่างจากการทำงาน อีกทั้งเป็นการบ่งบอกว่าผู้แต่งงานนั้นมีความรักใคร่ต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะเป็นครอบครัว
เมษายน -วันสงกรานต์ ชาวบ้านถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชน เนื่องจากลูกหลานที่จากไปไกล เช่น ไปเรียนหนังสือ ไปทำงานเมือง กลับมารดน้ำ ดำหัวผู้สูงอายุและพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่นับถือจะมัดมือให้ศีลให้พรกับลูกหลาน
พฤษภาคม -มัดมือ(กีจือลาขุ) มีการมัดมือให้กับบุตรหลานทุกครัวเรือน มีการเชิญผู้สูงอายุหรือผู้ใหญ่มีอายุมากที่สุดในชุมชนมามัดมืออวยพรให้กับบุตร
กรกฏาคม เลี้ยงผีไร่/ผีนา(แสะขึ/แสะจิ) เป็นพิธีเพื่อขอไหว้ เลี้ยงผีไร่ ผีนา เพื่อขอให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกไว้มีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตเจริญงอกงามดี อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงผี -เหล้า 2 ขวด ?ไก่ 2 ตัว - ด้าย 1 ตัว ?ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวงา(เหม่โต้ปิ)

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ค้าขาย ช่วงฤดูกาลเตรียมไร่เพื่อการเพาะปลูก
มกราคม ค้าขาย รับจ้างภาคการเกษตร จักสานไม้ไผ่ เก็บใบตองตึง ทอผ้า ช่วงฤดูกาลเตรียมไร่เพื่อการเพาะปลูก
กุมภาพันธ์ ค้าขาย รับจ้าง ถางไร่เพื่อทำการเกาตร ปลูกพืชสวน จักสานไม้ไผ่ ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลเตรียมไร่เพื่อการเพาะปลูก ในส่วนที่เหลือก็จะทำงานภายในครัวเรือน และรับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ
เมษายน ค้าขาย รับจ้าง ถางไร่ จักรสาน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลเตรียมไร่เพื่อการเพาะปลูก ในส่วนที่เหลือก็จะทำงานภายในครัวเรือน และรับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ
พฤษภาคม รับจ้าง ปลูกข้าว ปลูกพืชสวน จักสาน ปลูกข้าวโพด ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูการลงแขก ปลูกข้าวไร่และปลูกข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน และบางส่วนออกไปรับเพื่อหารายได้พิเศษ
มิถุนายน ค้าขาย รับจ้าง ปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชผัก ทอผ้า จักสาน เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูการลงแขก ปลูกข้าวไร่และปลูกข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน และบางส่วนออกไปรับเพื่อหารายได้พิเศษ
กรกฏาคม ค้าขาย รับจ้าง หาหน่อไม้ หาเห็ด จักสานไม้ไผ่ ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ในช่วงนี้จะทำงานส่วนตัวโดยส่วนมาก และบางส่วนหารายได้เพิ่มเติม
สิงหาคม ค้าขาย รับจ้าง ปลูกพืช หาหน่อไม้ ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลทำงานภายในครัวเรือน หารับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ บางส่วนก็หาอาหารพื้นบ้านตามสวนหรือป่าใกล้เคียง
กันยายน ค้าขาย รับจ้าง จักสาน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลทำงานภายในครัวเรือน หารับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ บางส่วนก็หาอาหารพื้นบ้านตามสวนหรือป่าใกล้เคียง
ตุลาคม ค้าขาย รับจ้าง จักรสาน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลทำงานภายในครัวเรือน หารับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ บางส่วนก็หาอาหารพื้นบ้านตามสวนหรือป่าใกล้เคียง
ตุลาคม ค้าขาย รับจ้าง จักรสาน ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูกาลทำงานภายในครัวเรือน หารับจ้างทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ บางส่วนก็หาอาหารพื้นบ้านตามสวนหรือป่าใกล้เคียง
ค้าขาย รับจ้าง เกี่ยวข้าว ตีข้าว เก็บข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูการลงแขก เพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน
พฤศจิกายน ค้าขาย รับจ้าง เกี่ยวข้าว ตีข้าว เก็บข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูการลงแขก เพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน
พฤศจิกายน ค้าขาย รับจ้าง เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว เก็บข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ช่วงฤดูการลงแขก เพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน
ธันวาคม ค้าขาย รับจ้าง เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว ทอผ้า จักสาน เก็บใบตองตึง ช่วงฤดูการลงแขก เพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ในหมู่บ้านหมุนเวียนกันแต่ละครัวเรือน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม -อาการหนาว . เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคผิวหนังในหมู่บ้านโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม อากาศร้อน -ระดับน้ำในห้วยอุสุโพโกรเริ่มลดลง - ชาวบ้านเริ่มเผาไร่ ทำให้เกิดหมอกควัน และมีอากาศร้อนอบอ้าว
เมษายน -เกิดภัยแล้ง -ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ผล เนื่องจากขาดน้ำ -ชาวบ้านเริ่มหาไข่มดแดงมาบริโภคและจำหน่าย
พฤษภาคม -เข้าฤดูฝน -เกิดพายุฤดูฝน -มีน้ำผึ้ง -ปลูกพืชสวน -ฝนตกหนักทำให้หน้าดินพังทลาย -เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก, โรคมาลาเรีย -ชาวบ้านเก็บน้ำผึ้งมาบริโภคและจำหน่าย -ปลูกพืชผักในไร่และในสวน
มิถุนายน -ฝนตกหนัก กบออกหากิน -พืชผักในป่ามีมากขึ้น -ชาวบ้านหาจับกบมาบริโภค -ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า(หน่อไม้)ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม -ฤดูฝน -พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น -ชาวบ้านเริ่มไถ่หว่านนาปี
สิงหาคม -ฤดูฝนเกิดพายุฤดูฝน -ชาวบ้านทำนาปี -พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย
กันยายน -เห็ดโคน และเห็ดไข่ออก -ชาวบ้านเก็บเห็ด เพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้เสริม
พฤศจิกายน -เข้าฤดูหนาว -อากาศเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม -อากาศหนาวและเย็น -ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด -ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี โดยการลงแขก


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม