สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม 1. มัดมือปีใหม่/ถางไร่ ร่วมกันทำบุญโดยชาวบ้านจะทำบุญเลี้ยงข้าวที่บ้านตนเองแล้วชวนเพื่อนบ้านมาร่วมกินข้าว มาอวยพรมัดมือปีใหม่
กุมภาพันธ์ ประเพณีแต่งงาน เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใคร่ต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะเป็นครอบครัว
มีนาคม เริ่มเผาไร่ ร่วมกันลงแขกเผาไร่เวียนจนครบทุกคน
เมษายน ทำบุญวันสงกรานต์/เก็บน้ำผึ้ง จัดกิจกรรมทำบุญเลี้ยงข้าว คนที่ไปทำงานต่างถิ่นก็จะกลับมาหาพ่อ แม่ เป็นเดือนรวมญาติ และร่วมเล่นสงกรานต์
พฤษภาคม หว่านข้าว/ปลูกข้าว ชาวบ้านจะร่วมกันลงแขกปลูกข้าวหว่านข้าวในเดือนนี้
กรกฏาคม ดายหญ้าไร่ ช่วงนี้ชาวบ้านจะทำกิจกรรมดายหญ้าเพียงอย่างเดียว
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
กันยายน ดายหญ้าไร่ ช่วงนี้ชาวบ้านจะทำกิจกรรมดายหญ้าเพียงอย่างเดียว
ตุลาคม รอเก็บเกี่ยวข้าว ช่วงนี้ชาวบ้านจะรอเก็บเกี่ยวข้าว
พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวข้าว ช่วงนี้ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวข้าว ตีข้าว ขนข้าว
ธันวาคม เก็บเกี่ยวข้าว ช่วงนี้ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวข้าว ตีข้าว ขนข้าว

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1.โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2.โรคปากเท้าเปื่อยในวัว 1.ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย 2.เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในแม่น้ำ....เริ่มลดลง
เมษายน 1.เกิดภัยแล้ง 2.เกิดพายุฤดูร้อน 3.เกิดโรคตาแดง 1.น้ำกินและน้ำใช้ไม่พอใช้ 2.สร้างความเสียหายในพื้นที่ทางการเกษตร 3.เกิดโรคตาแดงในหมู่บ้านโดยเฉพาะในเด็ก
พฤษภาคม 1.เริ่มเข้าฤดูฝน 2.เกิดพายุฤดูฝน 1.ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2.ทำให้ต้นไม้ใหญ่หักล้ม และดินสไลด์สร้างความเสียหายในการเกษตร 3.เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน 1.ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2.เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น 1.ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2.ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1.พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2.ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน 1.พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
ตุลาคม เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม