สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม - ขึ้นบ้านใหม่/มัดมือบ้านใหม่ - ประเพณีแต่งงาน - เป็นการรวมตัวของลูกหลานเพื่อทำพิธีมัดมือ/ผูกข้อมือให้อยู่เย็นเป็นสุข - เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใคร่ต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะเป็นครอบครัว
กุมภาพันธ์ ประเพณีแต่งงาน - เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใคร่ต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะเป็นครอบครัว
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ - มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
กรกฏาคม เลี้ยงผีไร่ ผีนา ( แสะคื่อ ) - เป็นพิธีไหว้ เลี้ยงผีไร่ ผีนา เพื่อขอให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกไว้มีความเจริญงอกงาม อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงผี - เหล้า ๒ ขวด - ไก่ ๒ ตัว - ด้าย เสื้อ ๑ ตัว - ข้าวต้มมัด - แดกงา (หมี่โต๊ะป่า)
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) โรคปากเท้าเปื่อยในวัว - ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย - เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในลำห้วยเริ่มลดลงน้ำประปาภูเขาไหลน้อยถึงหยุดไหลน้ำจึงไม่พอใช้
เมษายน เกิดภัยแล้ง เกิดพายุฤดูร้อน - ระดับน้ำในลำห้วย เริ่มลดลง และเกิดภาวะน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของชาวบ้าน
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน เกิดพายุฤดูฝน - ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น - ทำให้ต้นลำไยหักล้ม สร้างความเสียหายในการเกษตร - เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน เริ่มมีของป่า (หน่อไม้)มากขึ้นและ ทำการเกษตร -ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้ -ชาวบ้านเริ่มทำไร่ข้าว ทำนา ทำไร่ข้าวโพด เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี - มีเห็ดไม้ซางขึ้นและชาวบ้านนำเห็ดไปทำอาหาร
สิงหาคม ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านทำนาปี - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้)เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
ตุลาคม - ฤดูฝน - โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) -ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ -ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ผู้สูงอายุ - ชาวบ้านเก็บพืชผลทางการเกษตร
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น - ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด - ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1. โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2. โรคปากเท้าเปื่อยในวัว - ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย - เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในลำห้วยเริ่มลดลงน้ำประปาภูเขาไหลน้อยถึงหยุดไหลน้ำจึงไม่พอใช้
เมษายน 1. เกิดภัยแล้ง 2. เกิดพายุฤดูร้อน - ระดับน้ำในลำห้วย เริ่มลดลง และเกิดภาวะน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของชาวบ้าน
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน - ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น - ทำให้ต้นลำไยหักล้ม สร้างความเสียหายในการเกษตร - เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้นและ ทำการเกษตร -ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้ - ชาวบ้านเริ่มทำไร่ข้าว ทำนา ทำไร่ข้าวโพด เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี - มีเห็ดไม้ซางขึ้นและชาวบ้านนำเห็ดไปทำอาหาร
สิงหาคม ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านทำนาปี - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) เพื่อไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม - ฤดูฝน - โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) -ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ -ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ผู้สูงอายุ - ชาวบ้านเก็บพืชผลทางการเกษตร
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น - ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด - ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม