สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม มัดมือปีใหม่ (เรียกขวัญบ้าน) เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน
กุมภาพันธ์ แต่งงาน เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใครต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้างครอบครัว
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ของวันที่ 13 เมษายน ในวันที่ 14 เมษายน จะไม่มีการทำบุญหรือทำพิธีต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านจะถือว่าวันนี้เป็นวันเน่า คือวันไม่ดี วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน
พฤษภาคม เลี้ยงผีฝาย(ลึทีบอ) ชาวบ้านจะขอขมาแม่น้ำ เพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง ไก่ 2 ตัว และเหล้า 1 ขวด เป็นของเซ่นไหว้
กรกฏาคม เลี้ยงผีไร่/ผีนา (แสะขึ/แสะจิ) เป็นพิธีเพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง กับข้าว 1 อย่าง 1 กระทง เหล้า 2 ขวด ไก่ 3 ตัว มาเป็นของเซ่นไหว้ แต่ถ้าบ้านไหนมีหมูก็นำหมูมาเป็นของเซ่นไหว้ด้วยก็ได้
สิงหาคม มัดมือลาขุ เป็นพิธีเพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง กับข้าว 1 อย่าง 1 กระทง เหล้า 2 ขวด ไก่ 3 ตัว มาเป็นของเซ่นไหว้ แต่ถ้าบ้านไหนมีหมูก็นำหมูมาเป็นของเซ่นไหว้ด้วยก็ได้
ธันวาคม พิธีเลี้ยงนกเหยี่ยว (โทะบีคะ) ชาวบ้านเชื่อว่า ในช่วงระหว่างการทำนา/ไร่ข้าว จะมีนกชนิดหนึ่งอยู่ปกปักคุ้มครองรักษาข้าวที่อยู่ในนาและในไร่ข้าว เพื่อให้ข้าวที่อยู่ในนา/ไร่ ได้ผลผลิตงอกงามและมีความอุดมสมบูรณ์ โดยในการเซ่นไหว้ จะนำข้าวเปลือกใส่ไว้ในยุ้งข้าวที่กลางนา/ไร่ เหล้า 1 ขวด (ใส่ไว้ในกลางยุ้งข้าว) ไก่ 3 ตัว (ของเซ่นไหว้จะยังไม่นำกลับแต่จะค้างไว้ที่พิธี 1 วัน เพื่อให้นกได้พักผ่อน วันถัดไปจึงสามารถนำของเซ่นไหว้กลับมาที่บ้านได้

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม . ค้าขาย หาของป่าลงมาขาย
เมษายน ถางไร่เพื่อทำการเกษตร เผาไร่เก็บไม้แล้วเผา
พฤษภาคม หว่านข้าว เอาเมล็ดข้าวทีี่เตรียมปลูกไปหว่านในไร่ข้าว
พฤศจิกายน เกี่ยวข้าวและตีข้าว เกี่ยวข้าวและตีข้าวจากนั้นก็กลับไปเก็บไว้ที่ยุ็งฉางข้าว
ธันวาคม เลี้ยงหมู ทำความสะอาดเล้าหมู ดูและและหาอาหารให้หมู
ธันวาคม เลี้ยงหมู ทำความสะอาดเล้าหมู ดูและหาอาหารให้หมู

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม 1. อากาศมีการเปลี่ยนแปลง 2. ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ในการ 1. เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
กุมภาพันธ์ 1. อากาศมีการเปลี่ยนแปลง 2. ถางไร่ 2. ถางไร่ 1. เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก 2. ชาวบ้านเริ่มถางไร่
มกราคม 1. อากาศมีการเปลี่ยนแปลง 2. ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ในการทำไร่ 1. เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่ม 2. ชาวบ้านจะเริ่มไปจองที่ที่จะทำไร่เพื่อทำการเพาะปลูก
มีนาคม 1. ถางไร่ 2. ปลายเดือนเริ่มเผาไร่ 1. ชาวบ้านเริ่มถางไร่ 2. ชาวบ้านเริ่มเผาไร่ ทำให้เกิดหมอกควัน และมีอากาศร้อนอบอ้าว
เมษายน 1.เผ่าป่า 2.เก็บน้ำผึง 1.มีอากาศร้อนอบอ้าว 2. ชาวบ้านเริ่มเผาไร่
พฤษภาคม 1.ปลูกข้าวไร่ 1.ชาวบ้านช่วยกันปลูกไร่
มิถุนายน 1.หว่านต้นกล้าข้าว 2.ปลูกข้าวโพด 1.มีอากาศเปลี่ยนแปลงมีฝนตกทำให้ยุงเยอะขึ้น
กรกฏาคม 1.ปลูกข้าวในนา 2.ถอนหญ้าในไร่ 1. ชาวบ้านถางไร่เพื่อทำการเกษตรปลูกพืชสวน พริก มะเขือ ฟักทอง
สิงหาคม 1.กำจัดวัชพืชในนาในไร่ 1. ชาวบ้านถางหญ้าเพื่อทำการเกษตร
กันยายน 1.กำจัดวัชพืชในนาในไร่ 1. ชาวบ้านถางหญ้าเพื่อทำการเกษตร
ตุลาคม 1.เก็บผลผลิตข้าวโพด 1.เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว
พฤศจิกายน 1.เก็บผลผลิตข้าว 1.มีอากาศเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว
ธันวาคม 1.เก็บผลผลิต 1.ชาวบ้านทำพิธีเลี้ยงนกเหยี่ยว


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม