สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม 1. เทศน์มหาชาติ ร่วมกันจัดงานบุญเทศน์มหาชาติที่วัดห้วยมะโหนก เป็นเวลา7วัน มีการทอดผ้าป่า และจัดเลี้ยงน้ำปานะแก่ผู้มาฟังเทศน์มหาชาติ
กุมภาพันธ์ 2. ผูกข้อมือเรียกขวัญ คนในหมู่บ้านจะผูกข้อมือเรียกขวัญให้ลูกหลานใ นแต่ละบ้านของตนเอง
เมษายน 3. ประเพณีวันสงกรานต์ ชาวบ้านรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน สรงน้ำพระ นำอาหารไปให้คนสูงอายุถวายให้พระที่วัด มีการละเล่นสาดน้ำ
กรกฏาคม 4. แห่เทียนเข้าพรรษา เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม 5. วันแม่แห่งชาติ จัดงานวันแม่ในสถานศึกษาให้นักเรียนเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบรมราชินีนาถและไหว้แม่
พฤศจิกายน 6. ลอยกระทง จัดกิจกรรมลอยกระทงสายในหมู่บ้าน

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) ไปทำงานในเมือง ทำงานอดิเรกต่างๆ
กุมภาพันธ์ รับจ้างภาคการเกษตร รับจ้างทำงานทั่วไป
มีนาคม ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ถางไร่เพื่อเตรียมทำไร่
เมษายน ตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง เก็บนำ้ผึ้งเพื่อขายและเก็บใว้กิน
พฤษภาคม ปลูกข้าวไร่ ช่วยกันหยอดข้าวในไร่
มิถุนายน หาหน่อไม้ หาหน่อไม้จากป่าเพื่อนำไปขายและกิน
กรกฏาคม หาเห็ดโคน หาเห็ดจากป่่าและนำไปขาย
สิงหาคม ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง) ปลูกเผือก มัน และผักต่างๆ
กันยายน ค้าขาย ขายของป่าและพืชผัก
ตุลาคม เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว เริ่มเกี่ยวข้าวเหนียวในใร่
พฤศจิกายน เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว ลงแขกเกี่ยวข้าวไร่
ธันวาคม เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ) เลี้ยงสัตว์ในชุมชน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) 2. โรคปากเท้าเปื่อยในวัว ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย 2. เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดไฟป่า ชาวบ้านต้องเฝ้าระวังไฟป่าสร้างแนวกันไฟเพื่อไม่ให้ไฟลามเข้ามาในหมู่บ้าน
เมษายน . เกิดภัยแล้ง 2. เกิดพายุฤดูร้อน น้ำประปาภูเขาไหลไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน 2. ทำให้ต้นไม้หักล้ม สร้างความเสียหายในหมู่บ้าน
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน 2. เกิดพายุฤดูฝน . ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. ทำให้ต้นไม้หักล้ม สร้างความเสียหายในหมู่บ้าน 3. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย
มิถุนายน ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน 2. เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มหว่านไร่
สิงหาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านทำไร่และด้ายหญ้าข้าวไร่
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม 1. เห็ดชนิดต่างๆ 2. ฝนตกหนัก 1. ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ด 2. เกิดดินถล่มในพื้นที่การเกษตร
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวไร่


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม