สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ทำบุญข้าวใหม่ ร่วมกันจัดงานบุญเอาข้าวเปลือกมารวมกัน การทอดกฐิน
กุมภาพันธ์ 2. เข่าค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครู นักเรียนชาวบ้านรักร่วมเข้าค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มีนาคม พัฒนาปรับปรุงถนน ชาวบ้านร่วมกันพัฒนา
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
พฤษภาคม เลี้ยงผีต้นน้ำ เลี้ยงผีหมู่บ้าน
กรกฏาคม แห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัด เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ตุลาคม วันออกพรรษา บูรณะซ่อมแซมวัดในวันออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ที่จำเป็นมาถวายทาน ชาวบ้านร่วมกันทอดผ้าป่า และแห่ผ้าป่ามาถวายที่วัดเพื่อบูรณะซ่อมแซมวัด
พฤศจิกายน ลอยกระทง จัดกิจกรรมลอยกระทงสายในหมู่บ้านบริเวณแม่น้ำแม่สอง
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) โรคปากเท้าเปื่อยในวัว ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้
เมษายน เกิดภัยแล้ง เกิดพายุฤดูร้อน แม่น้ำเริ่มลดลง หาปลาได้ง่ายขึ้น
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน เกิดพายุฤดูฝน ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น ทำให้ต้นไม้หักล้ม สร้างความเสียหายในการเกษตร เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค
กรกฏาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปีและปลุกข้าวไร่และข้าวโพด
สิงหาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านทำนาปี
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภค
ตุลาคม เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก ฝนตกหนัก ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง ถนนพังทำให้การคมนาคมไม่สะดวก
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี ข้าวไร่ เก็บข้าวโพด


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม