สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
ข้อมูลที่เป็น จุดเด่น/จุดแข็ง ของชุมชน
จุดเด่น/จุดแข็ง ผลที่เกิดต่อชุมชน แนวทางเสริมจุดแข็ง / จุดเด่น
- ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมีความสามารถ -ชาวบ้านให้การยอมรับและเชื่อถือในความสามารถ -ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ผู้นำสั่งการ ส่งเสริมให้ผู้นำหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญในทุก ๆ ด้านมากยิ่งขึ้น
- มีกลุ่มแม่บ้านที่เข้มแข็งในการคอยให้ความช่วยเหลืองานส่วนรวม งานที่จำเป็นต้องใช้แม่บ้านที่เป็นหญิงในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานส่วนรวมหรืองานสาธารณะ หาผู้ปฏิบัติได้ง่าย ส่งเสริมให้เกิดอาชีพเสริมในกลุ่มแม่บ้าน เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านมีรายได้เข้ามาในกลุ่ม ดึงดูดสมาชิกแม่บ้านในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
- มีชุด ชรบ.ที่เข้มแข็ง ชุมชนมีความสงบเรียบร้อยเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ก็มีผู้ที่มาร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยให้ จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกใหม่ในชุด ชรบ. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ทดแทนสมาชิกเก่าบางส่วนที่เดินทางไปทำงานต่างถิ่น
-มีความสามัคคีในหมู่บ้านและชุมชน - ทำให้คนในชุมชนมีการร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมร่วมกัน ภารกิจที่เป็นงานส่วนรวมสามารถสำเร็จลุล่วงได้รวดเร็ว - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเป็นค่านิยมในการสามัคคีช่วยเหลือโดยไม่เห็นแก่ตัว เมื่อมีรางวัลหรือสิ่งตอบแทนจากภายนอกหมู่บ้าน ก็มอบหมายให้ผู้นำจัดสรร ให้กับสมาชิกอย่างทั่วถึงหรือเก็บเป็นของสาธารณะให้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ร่วมกันได้
- มีชุดการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่าของตนเอง ชุมชนมีเอกลักษณ์การแต่งกายที่เป็นแบบของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจใน หาแนวทางในการพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองให้โดดเด่น หาทางพัฒนาศิลปวัฒนธรรมประจำเผ่าให้เป็นอาชีพเสริม เช่น การปักลายผ้า และ
เอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ส่งเสริมให้เกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์
มีผู้อาวุโสและวิทยากรที่มี ความรู้ สาขาต่างๆ ในชุมชน - มีผู้นำทางความคิด และที่ปรึกษาที่มีความรู้ในชุมชน รวมทั้งมีสถานที่ในการเรียนรู้ด้านต่าง ๆในชุมชนใกล้บ้านสามารถไปเรียนรู้ได้ตลอดเวลา - พัฒนาศักยภาพทั้งด้านการปฏิบัติ เช่น พัฒนาให้วิทยากรสามารถตีมีดได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น และพัฒนาด้านการถ่ายทอดความรู้ การรวบรวมองค์ความรู้ให้เป็นคู่มือ จัดทำเป็นตำราสำหรับแจกผู้สนใจในชุมชน และบุคคลทั่วไป

ข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนของชุมชน
จุดอ่อน ผลที่เกิดต่อชุมชน แนวทางในการแก้ไข
-การคมนาคม (ถนนเสียหาย) - ถนนชำรุด เป็นหลุม มีฝุ่น - ทำโครงการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน อบต.และ นพค.33
-ถนนภายในหมู่บ้าน -การสัญจรไปมาลำบาก - ต้องการถนนที่มีความคงทนถาวรภายในหมู่บ้าน
-ขยะในหมู่บ้าน -ทำให้หมู่บ้านไม่สะอาด เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค -ทำโครงการขอรับการสนับสนุนถังขยะจากหน่วยงาน อบต.
-พื้นที่ทำมาหากิน -ชาวบ้านบางครอบครัวยังไม่มีพื้นที่ทำมาหากิน -หาข้อสรุปไม่ได้
-การนำพาแรงงานต่างด้าวผ่านเขตหมู่บ้าน -หมู่บ้านเป็นทางผ่านของการนำพาแรงงานต่างด้าว ทำให้พืชผลการเกษตรได้รับความเสียหายจากการถูกเหยียบย่ำ และทำให้หมู่บ้านเสื่อมเสียชื่อเสียงเนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในขบวนการค้าแรงงานต่างด้าว -ขอความสนับสนุนจากหน่วยงานความมั่นคงในการมาลาดตระเวนร่วมกับชุด ชรบ.ประจำหมู่บ้าน
-การศึกษา - การทำงานของครูในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง - การติดตามนักเรียนที่ขาดเรียนโดยไม่มีเหตุอันควร -ควรมีหนังสือแจ้งมาที่ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชน ถึงสาเหตุการที่ครูไม่สามารถมาปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ - ครูติดตามเมื่อนักเรียนขาดเรียนเกิน 2 วัน และสอบถามจากผู้ปกครองถึงสาเหตุการขาดเรียนและให้ส่งเด็กนักเรียนมาเรียน
-การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ -การขุดแร่จากบุคคลภายนอก -แจ้งปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ
สาธารณสุข(ห้องน้ำ/ห้องส้วม) -ห้องน้ำ/ห้องส้วมไม่เพียงพอ -สำรวจจำนวนผู้ที่ยังไม่มีห้องน้ำ/ห้องส้วมใช้ในหมู่บ้านและแจ้ง อสม.หรือครู
-ยาสามัญประจำบ้าน -ยาสามัญประจำบ้านยังไม่เพียงพอ -ขอความสนับสนุนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนประจำตำบล
-อนามัยชุมชน -ชุมชนต้องการอาคารสถานที่อนามัยชุมชน -ทำโครงการสนับสนุนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ
-สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน -ต้องการขยายสนามกีฬาประจำหมู่บ้าน -ทำโครงการของบประมาณปรับปรุงสนามกีฬาจากหน่วยงาน อบต.ประจำตำบล
-การสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม -ขาดผู้สืบทอดประเพณี วัฒนธรรม -ทำโครงการของบจาก กศน.จัดอบรมการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม
-เครื่องเลื่อยยนต์ประจำหมู่บ้าน -ขาดเครื่องเลื่อยยนต์ประจำหมู่บ้านในการทำโลงศพ -ขอใบอนุญาตจากอำเภอในการใช้เครื่องเลื่อยยนต์ประจำหมู่บ้าน
-การหาของป่ามาจำหน่าย -การตัดไม้หลักปลูกมะเขือเทศจากบุคคลภายนอก -ตั้งกฎห้ามบุคคลภายนอกและคนในหมู่บ้านตัด เพื่อจำหน่าย
-อาชีพเสริม -ช่างไฟฟ้า ช่างปูน ช่างตัดผม การเพาะเห็ดชนิดต่างๆ -ทำโครงการของบจาก กศน.จัดอบรมวิชาชีพระยะสั้น
-การระบาดของโรคติดต่อ -เกิดโรคระบาดในหมู่บ้าน -ขอความสนับสนุนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนประจำตำบลหรือ อสม.
-อุปกรณ์กีฬา(การออกกำลังกาย) -ขาดอุปกรณ์ในการออกกำลังกายประจำหมู่บ้าน -ทำโครงการขอความสนับสนุนจากหน่วยงาน อบต.ประจำตำบล
-อาณาเขตตำบล -อาณาเขตตำบลยังไม่แน่นอน -หาข้อสรุปไม่ได้
-อ่างกักเก็บน้ำ -ไม่มีน้ำใช้สำหรับอุปโภค บริโภค -สำรวจแหล่งต้นน้ำและทำโครงการขอความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน
-คนในชุมชนส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย และไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานหรือชุมชนภายนอก ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน เพราะขาดความรู้ และวิทยากรในด้านต่างๆ - ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการศึกษาให้กับคนในชุมชน เช่น กศน.อำเภอ - จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนร่วมกับโรงเรียนบ้านปากวัง - ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ไปศึกษาดูงาน หรืออบรมร่วมกับหน่วยงาน/ชุมชนต่างๆ
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม