สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
พิธีเรียกขวัญ จะกระทำในช่วงปีใหม่ หรือ ช่วงอื่นที่รู้สึกว่าไม่สบายใจ โดยจะใช้ ไข่ หรือ ไก่ เป็นเครื่องสังเวย และจะกระทำโดยผู้นำครอบครัว หรือผู้อาวุโส
ประเพณีจัดการงานศพ เป็นพิธีที่มีการจัดให้กับผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งจะมีการจัดการอย่างเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่สิ้นลมก็จะมีการชี้นำจากผู้อาวุโสให้กลับสู่สถานที่ตนเองเกิด โดยเริ่มจากที่ที่เสียชีวิตในปัจจุบันเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายสามารถกลับสู่สถานที่เกิดได้ เมื่อการชี้นำสิ้นสุดก็จะมีการเริ่มพิธีการต่าง ๆ ตามลำดับขั้น ตั้งแต่การขอร้องคนในชุมชนเพื่อให้มาช่วยทำหน้าที่ต่าง ๆ ในพิธี การแจ้งข่าวสารการตายอย่างเป็นทางการแก่ญาติผู้ตาย การกำหนดสถานที่ฝังศพ การล้างมลทินแก่ผู้ตายในคืนสุดท้ายก่อนการนำศพไปฝัง การฝังศพ การส่งข้าวส่งน้ำแก่วิญญาณผู้เสียชีวิต ในการจัดการงานศพนั้นแต่ละตระกูลก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป เช่น ลักษณะการขุดหลุมฝังศพนั้น บางตระกูลก็จะมีการขุดในลักษณะตัดกับแนวขุนเขา บางตระกูลขุดตามแนวยาวของขุนเขา บางตระกูลมีการนำหินมาเรียงบนหลุมศพ บางตระกูลไม่นำหินมาเรียง
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ของวันที่ 13 เมษายน ในวันที่ 14 เมษายน จะไม่มีการทำบุญหรือทำพิธีต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านจะถือว่าวันนี้เป็นวันเน่า คือวันไม่ดี วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน
สิงหาคม กินข้าวโพดใหม่ จะกระทำเมื่อมีผลผลิตในรอบปีออกเป็นครั้งแรก โดยผู้นำครอบครัวจะต้องทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อน แล้วผู้นำครอบครัวจึงจะกินได้ แต่พิธีกรรมนี้จะถือปฏิบัติเฉพาะครอบครัวที่แยกออกจากพ่อแม่อย่างเป็นทางการเท่านั้น ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวจะถือปฏิบัติไม่เคร่งครัดนัก สามารถกินผลผลิตที่ปลูกเองหรือของคนอื่นได้ โดยไม่ต้องเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อนก็ได้
พฤศจิกายน ประเพณีกินข้าวใหม่ จะกระทำเมื่อมีผลผลิตในรอบปีออกเป็นครั้งแรก โดยผู้นำครอบครัวจะต้องทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อน แล้วผู้นำครอบครัวจึงจะกินได้ แต่พิธีกรรมนี้จะถือปฏิบัติเฉพาะครอบครัวที่แยกออกจากพ่อแม่อย่างเป็นทางการเท่านั้น ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวจะถือปฏิบัติไม่เคร่งครัดนัก สามารถกินผลผลิตที่ปลูกเองหรือของคนอื่นได้ โดยไม่ต้องเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อนก็ได้ ข้าวที่ใช้ในพิธีกินข้าวใหม่ จะมีความพิเศษที่กระบวนการผลิต เพราะชาวบ้านจะ ไปเกี่ยวข้าวที่เริ่มแก่บางส่วน มานวดให้เป็นข้าวเปลือก
พฤศจิกายน ประเพณีกินข้าวใหม่ จะกระทำเมื่อมีผลผลิตในรอบปีออกเป็นครั้งแรก โดยผู้นำครอบครัวจะต้องทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อน แล้วผู้นำครอบครัวจึงจะกินได้ แต่พิธีกรรมนี้จะถือปฏิบัติเฉพาะครอบครัวที่แยกออกจากพ่อแม่อย่างเป็นทางการเท่านั้น ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวจะถือปฏิบัติไม่เคร่งครัดนัก สามารถกินผลผลิตที่ปลูกเองหรือของคนอื่นได้ โดยไม่ต้องเรียกผีบรรพบุรุษมากินก่อนก็ได้ ข้าวที่ใช้ในพิธีกินข้าวใหม่ จะมีความพิเศษที่กระบวนการผลิต เพราะชาวบ้านจะ ไปเกี่ยวข้าวที่เริ่มแก่บางส่วน มานวดให้เป็นข้าวเปลือกแล้วนำไปคั่วให้แห้งก่อนการนำไปสีเป็นข้าวสาร ข้าวสารที่ได้จะมีลักษณะเป็นสีเขียวปนน้ำตาล และมีกลิ่นหอม ทำให้ข้าวที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ นอกจากนี้การหุงก็จะหุงโดยวิธีการเช็ดน้ำ ทำให้ได้น้ำข้าวที่มีความหอมเป็นพิเศษ มาเสริฟร่วมกับการกินข้าวที่จะมีกับข้าวมื้อพิเศษที่อาจเป็นหมูหรือไก่
ธันวาคม ประเพณีปีใหม่ เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า ?เป๊เจาซงเชี้ย? เป็นประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีการเริ่มเฉลิมฉลองในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของปี พิธีการทางความเชื่อที่มีการปฏิบัติได้แก่ 1 การเรียกขวัญสมาชิกในครอบครัว โดยผู้นำครอบครัวหรือผู้อาวุโส 2 การบรวงสรวงเลี้ยงผีบรรพบุรุษในบ้าน 3 การเฉลิมฉลองนอกบ้าน จะมีการจัดกิจกรรมบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ และโยนลูกช่วงระหว่างคู่หนุ่มสาว ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกัน

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม 1. ออกไปทำอาชีพเสริม หรือเช่าพื้นที่เพาะปลูกพืชนอกฤดูในพื้นที่อื่นนอกหมู่บ้าน 1. ระดับน้ำเหลือน้อยลง ชาวบ้านย้ายพื้นที่ประกอบอาชีพนอกหมู่บ้าน จึงเหลือเพียงเด็กและผู้สูงอายุอยู่เฝ้าบ้านและเรียน
กุมภาพันธ์ เตรียมพื้นที่เพาะปลูก มีการถางเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูกาลใหม่
มีนาคม เตรียมพื้นที่เพาะปลูก ระดับน้ำเหลือน้อยต้องคอยควบคุมการปิดเปิดน้ำ เป็นเวลา และมีการเผาไร่เตรียมพื้นที่เพาะปลูก
เมษายน เตรียมพื้นที่เพาะปลูก ระดับน้ำเหลือน้อยต้องคอยควบคุมการปิดเปิดน้ำ เป็นเวลา และมีการเผาไร่เตรียมพื้นที่เพาะปลูก ชาวบ้านเดินทางกลับมาประกอบอาชีพในพื้นที่
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น 2. เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และพืชอื่น ๆในพื้นที่ 3. เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน ฤดูฝน 1. ชาวบ้านหาประกอบอาชีพการเพาะปลูก 2. ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มเตรียมพื้นที่และปลูกถั่วลิสงในป่าข้าวโพด
สิงหาคม ฤดูฝน 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
กันยายน เริ่มเก็บข้าวโพด มีการเตรียมต้นกล้าและพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เริ่มมีการเก็บข้าวโพดขาย และตัดยอดข้าวโพดในแปลงที่มี ถั่วลิสงออก เตรียมต้นกล้าและพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ
ตุลาคม เก็บข้าวโพด มีการเก็บข้าวโพด เพื่อเก็บในยุ้ง
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว เก็บเกี่ยวข้าวไร่ และพริก อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ชาวบ้านมีการเก็บเกี่ยวข้าวไร่ และเก็บพริกขี้หนูเพื่อจำหน่าย
ธันวาคม มีการสีข้าวโพด เก็บถั่วลิสง และพริกขาย ชาวบ้านมีรายได้จากการขายผลผลิตทาการเกษตร

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม