สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม - มัดมือปีใหม่ (เรียกขวัญบ้าน) เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ของวันที่ 13 เมษายน ในวันที่ 14 เมษายน จะไม่มีการทำบุญหรือทำพิธีต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านจะถือว่าวันนี้เป็นวันเน่า คือวันไม่ดี วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน
พฤษภาคม เลี้ยงผีฝาย(ลึทีบอ) ชาวบ้านจะขอขมาแม่น้ำ เพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง ไก่ 2 ตัว และเหล้า 1 ขวด เป็นของเซ่นไหว้
กรกฏาคม เลี้ยงผีไร่/ผีนา (แสะขึ/แสะจิ) เป็นพิธีเพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง กับข้าว 1 อย่าง 1 กระทง เหล้า 2 ขวด ไก่ 3 ตัว มาเป็นของเซ่นไหว้ แต่ถ้าบ้านไหนมีหมูก็นำหมูมาเป็นของเซ่นไหว้ด้วยก็ได้
สิงหาคม มัดมือลาขุ เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน โดยทุกบ้านจะต้องเข้าร่วมพิธี
ตุลาคม ทำบุญน้ำนมข้าว เมื่อข้าวใกล้จะสุกมีรวงสีทอง จะมีน้ำนมข้าวอยู่ เจ้าของไร่ก็จะเกี่ยวข้าวนั้นมาตำและบีบเอาน้ำข้าวมาเคี่ยวใส่น้ำตาล กะทิ นำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่กินก่อน
ธันวาคม พิธีเลี้ยงนกเหยี่ยว (โทะบีคะ) - ชาวบ้านเชื่อว่า ในช่วงระหว่างการทำนา/ไร่ข้าว จะมีนกชนิดหนึ่งอยู่ปกปักคุ้มครองรักษาข้าวที่อยู่ในนาและในไร่ข้าว เพื่อให้ข้าวที่อยู่ในนา/ไร่ ได้ผลผลิตงอกงามและมีความอุดมสมบูรณ์ โดยในการเซ่นไหว้ จะนำข้าวเปลือกใส่ไว้ในยุ้งข้าวที่กลางนา/ไร่ เหล้า 1 ขวด (ใส่ไว้ในกลางยุ้งข้าว) ไก่ 3 ตัว (ของเซ่นไหว้จะยังไม่นำกลับแต่จะค้างไว้ที่พิธี 1 วัน เพื่อให้นกได้พักผ่อน วันถัดไปจึงสามารถนำของเซ่นไหว้กลับมาที่บ้านได้

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม - รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) - คนในชุมชนออกไปรับจ้างในต่างจังหวัดเช่น ลำพูน เชียงใหม่ กรุงเทพ ยะลา และยังมีบางส่วนรับจ้างในชุมชน เช่น รับจ้างทำถนน ทำสวนป่า หาของป่าขาย
มีนาคม - รับจ้างนอกภาคการเกษตร (ในเมือง) - คนในชุมชนออกไปรับจ้างในต่างจังหวัดเช่น ลำพูน เชียงใหม่ กรุงเทพ ยะลา และยังมีบางส่วนรับจ้างในชุมชน เช่น รับจ้างทำถนน ทำสวนป่า หาของป่าขาย
เมษายน - ถางไร่เพื่อทำการเกษตร - ชาวบ้านในชุมชนจะเริ่มถางไร่เพื่อเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร
พฤษภาคม - ปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวโพด - ชาวบ้านจะเริ่มปลูกข้าวไร่เมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะตามด้วยการปลูกข้าวโพด - โดยจะมีการจ้างบางส่วนและจะมีการไปช้วยเพื่อเอาแรง ในลักษณะการไปช่วยกันเหมือนการลงแขกปลูกข้าว
มิถุนายน - ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง) - เป็นลักษณะการปลูกในไร่ที่พอมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่
กรกฏาคม - ปลูกข้าวนา - จะเริ่มดำนา โดยมีคนในครอบครัวและพี่น้องช่วยลงแรง
ตุลาคม - เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว - ชาวบ้านในชุมชนจะลงแรงช่วยกันเกี่ยวข้าวและตีข้าวในเวลากลางคืน โดยเจ้าของไร่จะมีเลี้ยงผีไร มีการฆ่าไก่หรือหมูเป็นเครื่องสังเวยและใช้เป็นอาหารเลี้ยงผู้มาช่วยงาน
พฤศจิกายน - เกี่ยวข้าวนา ตีข้าวนา - จะมีคนในครอบครัวและญาติพี่น้องลงแรงช่วยกันเกี่ยวข้าวและตีข้าวในเวลากลางคืน โดยเจ้าของไร่จะมีการเลี้ยงผี ฆ่าไก่หรือหมูเป็นเครื่องสังเวยและเป็นอาหารเลี้ยงผู้มาช่วยงาน
พฤศจิกายน - เก็บพริก - ชาวบ้านที่ทำไร่พริกจะเก็บพริก และนำพริกมาตากแดดให้แห้งและขายเป็นพริกสดในบางส่วน
ธันวาคม - เกี่ยวข้าวนา ตีข้าวนา - จะมีคนในครอบครัวและญาติพี่น้องลงแรงช่วยกันเกี่ยวข้าวและตีข้าวในเวลากลางคืน โดยเจ้าของไร่จะมีการเลี้ยงผี ฆ่าไก่หรือหมูเป็นเครื่องสังเวยและเป็นอาหารเลี้ยงผู้มาช่วยงาน

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม - ชาวบ้านเริ่มถางไร่ เผาหญ้าที่ไร่ - ชาวบ้าน เด็ก จะเป็นไข้หวัดกันมาก - ชาวบ้านถางหญ้าที่ไร่ เพื่อเตรียมการเพาะปลูก - ช่วงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงฤดู อากาศจะเปลี่ยนแปลง จะเข้าฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นมาก จะเกิดโรคหวัดในหมู่บ้านโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และผู้เฒ่า
กุมภาพันธ์ -ถางไร่ เผาหญ้าที่ไร่ - อากาศจะมีหมอกควัน เกิดจากการเผาหญ้าที่ไร่
มีนาคม -เตรียมพื้นที่ในการทำการเกษตร - ชาวบ้านจะไปถางหญ้าที่ไร่เตรียม พื้นที่ในการเพาะปลูก เตรียมพันธ์พืช
เมษายน -อากาศร้อน - เกิดโรคอหิวา ท้องเสีย - ปลูกข้าว พริก - น้ำในลำห้วยจะแห้ง นำประปาจะไม่พอใช้ - เกิดโรคท้องร่วง ท้องเสีย ในหมู่บ้านโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก - ชาวบ้านปลูกข้าว ปลูกพริก
พฤษภาคม -เริ่มเข้าฤดูฝน - การคมนาคม การเดินทางเข้าออกหมู่บ้านจะลำบาก - หน่อไม้เริ่มออก - เข้าฤดูฝน ฝนตกมากทำให้ เกิดต้นไม้ล้ม - การเดินทางเข้าหมู่บ้านจะลำบาก รถเข้าลำบาก จะต้องเดินเข้าหมู่บ้าน - ฝนตกหน่อไม่จะเริมออก
มิถุนายน -ฝนจะตกมาก - หน่อไม้ หาของป่า - ชาวบ้านถางหญ้าพืชในไร่ - ทำให้ในหมู่บ้านขาดแสงสว่างเพราะไม่มีแสงอาทิตย์ ในหมู่บ้านจะมืดมาก - ชาวบ้านเริ่มหาหน่อไม้ขาย
กรกฏาคม - ชาวบ้านหาหน่อไม้ขาย - ชาวบ้านถางหญ้าพืชในไร่ - ฝนตกมาก - ชาวบ้านจะหาหน่อไม้ขาย กิโลกรัมละ 3 ? 5 บาท - ถางหญ้าที่ไร่ กำจัดว้ชพืช
สิงหาคม - ชาวบ้านหาหน่อไม้ขาย - ชาวบ้านถางหญ้าพืชในไร่ - ชาวบ้านจะหาหน่อไม้ขาย - ถางหญ้าที่ไร่ กำจัดว้ชพืช
กันยายน - ชาวบ้านถางหญ้าพืชในไร่ - ถางหญ้าที่ไร่ กำจัดว้ชพืช
ตุลาคม -ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว ในหมูบ้านจะมีการลงแขกช่วยกันที่ละไร่ - ฝนตกทำให้พืชไร่เสียหาย
พฤศจิกายน -เริ่มเข้าฤดูหนาว - อากาศเลียนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและผู้เฒ่า เป็น หอง หืด
ธันวาคม - อากาศหนาวเย็นมาก - เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและผู้เฒ่า เป็น หอบ หืด - ชาวบ้าน จะขาดเสื้อกันหนาว ผ้าห่ม


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม