สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ประเพณีกินข้าวใหม่ (ศาสนาคริสต์) ร่วมกันนำอาหารคาวหวามมารวมกันทั้งหมู่บ้านเพื่อทำพิธีกินข้าวใหม่เมื่อเสร็จพิธีนำอาหารที่ไปทำพิธีมาแบ่งกันกินทุกคน
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ ชุมชนร่วมกันจัดงานวันแม่แห่งชาติ ณ โบสถ์ศาสนาคริสต์ โดยจะมีการนมัสการและมีพิธ๊การกราบแม่
ธันวาคม กิจกรรมวันพ่อและประเพณีคริสมต์มาส ชุมชนจะร่วมกันจัดกิจกรรม ณ โบสถ์ มีพิธีนมัสการตามแบบศาสนาคริสต์ และชาวบ้านจะร่วมกันจัดกิจกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น กลางงวันจะมีการละเล่นพื้นบ้าน กลางคืนจะมีการแสดงจากชาวบ้าน

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ชาวบ้านจะทำการถางหญ้าเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
กุมภาพันธ์ จักสานไม้ไผ่ ชาวบ้านจะตัดไม้ไผ่เพื่อทำเครื่องจักสาน ซึ่งจะทำตลอดทั้งปี
มีนาคม จับปลา ชาวบ้านจะหาปลาจากแม่นำ้ ซึ่งจะทำตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงที่นำ้หลากและช่วงที่ปลาออกวางไข่
เมษายน ทอผ้า ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จะทอผ้าซึ่งจะทำตลอดทั้งปีในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำไร่
มิถุนายน ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง) ชาวบ้านจะเริ่มปลูกพืชสวนเพราะอากาศมีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก
กรกฏาคม เลี้ยงสัตว์ (หมู ไก่ เป็ดเทศ) ชาวบ้านจะเลี้ยง หมู ไก่ เป็ดเทศ ฯลฯ ไว้บริเวณครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงสํตว์จะทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สิงหาคม เก็บหน่อไม้ ชาวบ้านจะทำการเก็บหน่อไม้เพื่อนำไปขาย
กันยายน เก็บเห็ดโคลน ชาวบ้านจะเก็บเห็ดโคลนที่ขึ้นในป่า
ตุลาคม เก็บเกี่ยวพืชผัก เช่น ผัก มะเขือเทศ แตงไทย ฯลฯ ชาวบ้านจะทำำการเก็บเกี่ยวพืชผักที่ปลูกไว้
พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ ชาวบ้านจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อนำไปจำหน่าย
ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ชาวบ้านจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ เพื่อนำไปจำหน่าย

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม อากาศมีการเปลี่ยนแปลง และชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ในการทำไร่ เกิดโรคหวัดในหมู่บ้านโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก และชาวบ้านจะเริ่มจับจองพื้นที่เพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูก
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง และชาวบ้านถางไร่ เกิดโรคหวัดในหมู่บ้านโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก และชาวบ้านถางไร่
มีนาคม อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ชาวบ้านถางไร่ ชาวบ้านถางไร่และในช่วงปลายเดือนมีการถางไร่
เมษายน เกิดภัยแล้ง ระดับนำ้ประปาภูเขาเริ่มลดลง ทำให้นำ้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน และเกิดพายุฝน ฝนเริ่มตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื่น เกิดพายุฝนทำให้ต้นไม้หักล้มสร้างความเสียหายให้กับการเกษตร นอกจากนี้ต้องเริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
มิถุนายน ฝนตกหนัก มีฝนตกอย่างสมำ่เสมอ ชาวบ้านจับอึ่ง กบ เขียด มาบริโภคในครัวเรือน และชาวบ้านจะเริ่มปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ฯลฯ
กรกฏาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื่น และชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี
สิงหาคม ช่วงฝนตกหนัก มีนำป่าไหลหลากในช่วงที่ฝนตกหนัก ทำให้ถนนพังทลายการคมนาคมมีความยากลำบาก
กันยายน ช่วงปลายฤดูฝน ปริมาณนำ้ฝนเริ่มลดลง
ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเริ่มมีความหนาวเย็น อุณหภูมิลดลง
พฤศจิกายน ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง
ธันวาคม ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิอยู่ในระดับตำ่ และเกิดโรคระบาดในไก่


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม