สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม วันเด็กแห่งชาติ มีการจัดกิจกรรมต่างๆให้กับเด็กๆในชุมชนเช่น กิจกรรมการแสดงบนเวที เล่นเกมส์ เป็นต้น
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ธันวาคม - วันพ่อแห่งชาติ - วันคริสต์มาส - จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ - จัดกิจกรรมในโบสถ์และมีงานรื่นเริงต่างๆ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ค้าขาย พักผ่อน เป็นช่วงที่ชาวบ้านเริ่มว่างจากงานหลัก
กุมภาพันธ์ ค้าขาย ผลผลิตทางการเกษตร นำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ เช่นข้าวโพด มาขาย
มีนาคม ค้าขาย และเริ่มเตรียมพื้นที่การเกษตรใหม่ ค้าขาย และเริ่มเตรียมพื้นที่การเกษตรใหม่
เมษายน ค้าขาย พักผ่อน ค้าขาย พักผ่อน เยี่ยมญาติพี่น้อง
พฤษภาคม ปลูกข้าวไร่ ชาวบ้านเริ่มฤดูกาลปลูกข้าวไร่
มิถุนายน ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง) ชาวบ้านเริ่มปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)
กรกฏาคม ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้า ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้าในไร่ในสวน
สิงหาคม ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้า ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้าในไร่ในสวน
กันยายน ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้า ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้าในไร่ในสวน
ตุลาคม ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ) ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง)ถางหญ้า ดายหญ้า
พฤศจิกายน ถางหญ้า ดายหญ้าเกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว จักสานไม้ไผ่ ถางหญ้า ดายหญ้าเกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าวจักสานไม้ไผ่
ธันวาคม ปลูก พืชผัก(พริก มะเขือ ผักกาด) ถางหญ้า ดายหญ้าในไร่ในสวน เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว จักสานไม้ไผ่ ปลูก พืชผัก(พริก มะเขือ ผักกาด) ถางหญ้า ดายหญ้าในไร่ในสวน เกี่ยวข้าวไร่ ตีข้าว จักสานไม้ไผ่

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม -โรคอหิวาต์ไก่ (โรคขี้ขาว) -โรคปากเท้าเปื่อยในวัว -ไก่มีอาการเฉา ขี้ขาว หน้าบวม ไก่ตาย -เล็บวัวเป็นแผล ปากเป็นแผล เดินไม่ได้
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม สภาพอากาศแห้งแล้ง ระดับน้ำในแม่น้ำ ลำห้วย เริ่มลดลง
เมษายน เกิดพายุฤดูร้อน อากาศร้อนในตอนกลางวัน
พฤษภาคม -เริ่มเข้าฤดูฝน -เกิดพายุฤดูฝน -ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน -พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น - เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก - ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภค - ชาวบ้านเริ่มปลูกข้าวไร่และข้าวโพด
มิถุนายน ฤดูฝน - เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม - ลงแขกดำนาปี - หาของป่าขาย -ชาวบ้านลงแขกดำนาปี -ชาวบ้านหาของป่าขาย
สิงหาคม ฤดูฝน -กำจัดวัชพืชในไร่ กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม เริ่มเกี่ยวข้าว ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวไร่
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก - ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวไร่
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น - ชาวบ้านเริ่มตีข้าวไร่ - ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม