สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
เมษายน - ประเพณีวันสงกรานต์ -มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า จากนั้นจึงสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
พฤษภาคม - ลงแขกข้าวไร่ -จะมีการลงแขกเอามื้อเอาวันกันจนเสร็จเป็นไร่ๆ
กรกฏาคม - แห่เทียนเข้าพรรษา -ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดปากวัง เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิทุกวันพระตลอดช่วงเข้าพรรษา
กรกฏาคม - ผูกข้อมือประจำปี - เลี้ยงผีไร่ข้าว - วันผูกข้อมือครอบครัวแต่ละครอบครัวจะนัดญาติมาเจอกันและให้ผู้เฒ่าผู้แก่ผูกข้อมือให้ลูกๆหลานๆผูกข้อมือด้วย ไก่ หมู สุรา -พอข้าวเขียวชาวบ้านก็จะนำไก่ 1 คู่ สุรา 2 ขวด ไปทำพิธีในไร่ข้าว พอเสร็จพิธีเจ้าของไร่ข้าวและญาติร่วมกันรับประทานอาหารให้หมด
สิงหาคม - วันแม่แห่งชาติ -จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ตุลาคม - ลงแขกเกี่ยวข้าวไร่ -ในชุมชนข้าวใครเหลืองพร้อมเกี่ยวได้แล้ว ชาวบ้านที่มีข้าวไร่เหมือนกันก็จะไปเอาวันไว้ก่อน หมุนเวียนกันจนเสร็จทุกคน
พฤศจิกายน - ลอยกระทง -จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณ ลำห้วยขุนห้วยหม่องวา
ธันวาคม - วันพ่อแห่งชาติ -จัดพระบรมฉายาลักษณ์และจุดเทียนถวายพระพรพร้อมกับชาวบ้าน

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม -ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ในการทำไร่ - ชาวบ้านจะเริ่มไปจองที่ทำไร่เพื่อทำการเพาะปลูก
กุมภาพันธ์ - ถางไร่ - ชาวบ้านเริ่มถางไร่
มีนาคม - ถางไร่ - ปลายเดือนเริ่มเผาไร่ - ทำให้อากาศอบอ้าว และแสบตา
เมษายน - หาของป่าและเก็บของป่าขาย - ตีผึ้ง เก็บนำ้ผึ้ง หาของป่าขาย
พฤษภาคม - ปลูกข้าวไร่ - มีการช่วยกันปลูกข้าวไร่และช่วยกันปลูกพืชผักสวนครัว
มิถุนายน - หาของป่าและเก็บของป่าขายและปลูกพืชที่ปลูกออกมาจำหน่าย - มีการเก็บของป่าชนิดต่างๆออกมาขายและผลผลิตที่ปลูก
ธันวาคม - เกี่ยวข้าวและเก็บผลผลิตพืชที่ปลูกขาย - มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวไร่ พืชผักสวนครัวที่ปลูกและจำหน่ายสู่ตลาด

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
กุมภาพันธ์ - อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม - เกิดภัยแล้ง - ระดับน้ำในลำห้วยน้ำเริ่มลดลง
พฤษภาคม - เริ่มเข้าฤดูฝน - เกิดพายุฤดูฝน - ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น - เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
มิถุนายน - ฝนตกหนัก กบ,เขียดเริ่มออกหากิน - เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น - ชาวบ้านหาจับกบ,เขียดมาบริโภคและขายเป็นรายได้ - ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม - ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านเริ่มทำนาไร่
สิงหาคม - ฤดูฝน - พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น - ชาวบ้านทำนาไร่
กันยายน - เห็ดโคน,เห็ดตับเต่า - ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคน,เห็ดตับเต่าเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้
ตุลาคม - เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก - ฝนตกหนัก - ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง - น้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร ตลิ่งริมลำห้วยขุนห้วยหม่องวาพัง
พฤศจิกายน - เริ่มเข้าฤดูหนาว - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก - ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่
ธันวาคม - อากาศมีความหนาวเย็น - ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม