สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
การวิเคราะห์ศักยภาพภายใน
ที่ ด้าน / ลักษณะ จุดเด่น / จุดแข็ง จุดอ่อน
1 ด้านบุคลากร - มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ - มีความเสียสละและตั้งใจ ในการทำงาน (มุ่งมั่น ทำงานด้วยหัวใจ) - มีประสบการณ์การทำงาน ในพื้นที่มากกว่า 5 ปี - มีอัธยาศัยดี และมีสัมพันธภาพในการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชน - มีความสามารถ ปฏิบัติงานได้ทุกงานตามคำสั่ง - รับผิดชอบงานในพื้นที่มากเกินไป ทำให้ทำงานด้านเอกสารไม่ทัน - ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่ - ขาดเทคนิค วิธีการ ในเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกันคุณภาพ - มีบุคลากรครูแค่ 1 คน
2 ด้านสังคม - ชุมชนแบบชนบท มีความสามัคคี พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน - นับถือ เชื่อฟัง ผู้อาวุโสในชุมชนเป็นผู้นำทางความคิด - มีแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญา และแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลาย - การติดต่อกับสังคมภายนอกมีน้อยทำให้ยึดติดกับความเชื่อแบบเดิมๆ - ผู้นำทางความคิด ค่อนข้างผูกขาดการชี้นำชุมชน
3 ด้านเศรษฐกิจ - รายจ่ายในการครองชีพต่ำ -คนในชุมชนมีฐานะยากจน -ไม่มีอาชีพเสริม หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ -ประกอบอาชีพแบบเดียวกันทั้งชุมชน
4 ด้านสาธารณสุข - เด็กเยาวชนและประชากรวัยทำงานมีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง - ปัญหาโรคระบาดยังพบไม่บ่อยมาก - การเจ็บป่วยของคนในชุมชน ส่วนใหญ่จะไม่ร้ายแรง - สถานพยาบาลอยู่ไกลจากชุมชน - การเดินทางไปสถานพยาบาลเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน - ชาวบ้านในชุมชนยังเชื่อในเรื่องการเจ็บป่วย เป็นเรื่องผีสาง มากกว่าเชื่อหมอ
5 ด้านการศึกษา - หน่วยงาน กศน. โดยเฉพาะ ศศช. เข้าไปจัดการศึกษาให้กับเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่องมาหลายปี - ครู กศน. ประจำศศช.ทำงานอยู่ในชุมชนอย่างยาวนาน ในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้เข้าใจสภาพ ความต้องการด้านการศึกษาและด้านต่างๆของชุมชน - เด็กไม่สามารถเรียนหนังสือได้อย่างเต็มที่เพราะต้องช่วยผู้ปกครองทำงาน - เด็กและคนในชุมชน ไม่ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ทำให้มีปัญหาในการพูด อ่านภาษาไทย - เด็กที่จบจาก ศศช.ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เนื่องจากปัญหาความยากจน

การวิเคราะห์ศักยภาพภายนอก
ที่ ด้าน / ลักษณะ โอกาส อุปสรรค
1 ด้านบุคลากร - ได้รับความเคารพนับถือจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคนในชุมชน - ไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ - ปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดาร และอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ไม่ค่อยมีความปลอดภัยในการทำงาน
2 ด้านสังคม - วัฒนธรรมค่านิยมจากสังคมภายนอกยังเข้าไปในชุมชนน้อย - มีแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลาย - มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรม ประเพณี - การแพร่หลายของวัฒนธรรมจากภายนอก โดยผ่านกลุ่มที่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือในตัวเมือง
3 ด้านเศรษฐกิจ - ชุมชนมีรายได้เสริมมากขึ้น จะมีเงินออมไว้ใช้ในอนาคต - มีคนจากชุมชนอื่นเดินทางเข้าไปซื้อวัว หมู ที่ชาวบ้านในชุมชนเลี้ยงไว้ - มีรถมอเตอร์ไซด์เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา - มีความฟุ้งเฟ้อมากขึ้น มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายครัวเรือนเช่น เครื่องเสียง โทรทัศน์ เป็นต้น
4 ด้านสาธารณสุข - มี อสม. ในหมู่บ้านทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องสุขอนามัย - มีตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ตื่น เข้าไปให้ความรู้ชาวบ้านและนักเรียนรวมทั้งฉีดวัคซีนให้เด็ก - มีโรคชนิดใหม่ๆ ที่ชาวบ้านไม่คุ้นเคยเกิดขึ้นในชุมชน โดยมีคนภายนอกและชาวบ้านในชุมชนที่ไปทำงานในตัวเมืองกลับมา เป็นพาหะ
5 ด้านการศึกษา - ทาง กศน. มีทุนการศึกษาให้กับนักเรียนใน ศศช.เพื่อนำไปซื้อหมูเลี้ยงเพื่อให้เด็กมีออมไว้ใช้ในการศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น - ทาง ศศช. มีการสอนผู้ไม่รู้หนังสือให้อ่านออก เขียนได้ - ทาง ศศช. บังคับให้เด็กนักเรียนใน ศศช.ต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร - มีนักเรียนจำนวนหนึ่ง ที่ไปเรียนหนังสือต่างถิ่น เรียนหนังสือไม่จบ ต้องออกก่อนกำหนด - นักเรียนใน ศศช. บางส่วนอายุมากกว่าเกณฑ์ เรียนหนังสือไม่จบเพราะเข้าไปทำงานในตัวเมือง เพื่อหารายได้
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม