สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม - บุญปีใหม่ (จี้จือฮิซอโค๊ะ) - บุญข้าวเปลือก(หม่าบุ๊บือซอ) -ชาวบ้านจะเชิญคนแก่คนเฒ่าที่เคารพนับถือในหมู่บ้านมาที่บ้านและมัดมือให้กับสมาชิกในครอบครัวทุกคนโดยเริ่มมัดมือจากคนสุดท้องก่อนและพ่อเป็นคนสุดท้ายที่จะมัดเพื่อให้มีชีวิตอยู่ดีมีสุขตลอดปีใหม่และจะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารสำหรับคนแก่คนเฒ่าที่เชิญมาด้วยการฆ่าหมูหรือไก่ที่เลี้ยงไว้ -ชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปทำบุญวัดใกล้บ้านและก็จะมีอาหารอย่างอื่นที่มีเช่น พริก เกลือ หมาก พลู น้ำผึ้ง ข้าวสาร ก็จะนำไปทำบุญด้วยเพื่อจะได้มีกินทั้งชาตินี้และชาติหน้า
กุมภาพันธ์ -ประเพณีแต่งงาน (ออหมุ) -ช่วงเดือนนี้จะเป็นช่วงที่มีการแต่งงานเยอะเพราะว่างจากการทำนาทำไร่
เมษายน -ประเพณีสงกรานต์ (ตาลาคา) -ประเพณีลูกหลานอยู่ที่ก็จะกลับมาแลนำของกินของใช้และน้ำส้มป่อยไปดำหัวและขอพรจากปู่ ย่า ตา ยายผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เรานับถือ
กรกฏาคม -เลี้ยงผีข้าวเขียว (ข้าวนาข้าวไร่) -แห่เทียนเข้าพรรษา -ชาวบ้านจะนำหมู ไก่ และเหล้า หรือบางบ้านก็ใช้แต่ขนมหวานไม่มีเหล้าไปเลี้ยงตามที่ไร่ นาของตนเองมีความเชื่อว่าเพื่อให้ผีนา ผีไร่ดูแลข้าวให้จะทำให้ได้ผลผลิตดี -ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดป่าจื้อพอก่อ เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนจะมาพัฒนาวัดและจำพรรษา
สิงหาคม -วันแม่แห่งชาติ -จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
กันยายน -มัดมือเดือน 8(จี้จือฮิซอลาขุ) (จือมื้อลาขุ) -คล้ายกับบุญปีใหม่คือเชิญคนแก่คนเฒ่าที่เคารพนับถือในหมู่บ้านทุกคนมาที่บ้านและมัดมือให้กับสมาชิกในครอบครัวทุกคนโดยเริ่มมัดมือจากคนสุดท้องก่อนและพ่อเป็นคนสุดท้ายเพื่อให้มีชีวิตอยู่ดีมีสุขตลอดปีใหม่และจะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารสำหรับคนแก่คนเฒ่าที่เชิญมาด้วยการฆ่าหมูหรือไก่ที่เลี้ยงไว้
ตุลาคม -ทำบุญออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง ของใช้ที่จำเป็นมาถวายทานและทำบุญทอดผ้าป่าร่วมกับหน่วยงานข้างล่างที่วัดป่าจึ๊อพอก่อ เพื่อบูรณะซ่อมแซมวัดในวันออกพรรษา
พฤศจิกายน -ลอยกระทง -จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณลำห้วยขะเนจื้อ
ธันวาคม -วันพ่อแห่งชาติ -จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม 1 .ชาวบ้านเอาแรงไปสร้างบ้านช่วยกัน 2.ผักฮากออก /ฟันไร่ 1. ชาวบ้านที่จะสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้านจะเอาแรงเพื่อนบ้านไปช่วยกันก่อสร้างบ้าน 2. ชาวบ้านไปหาเก็บผักฮากมากินและขาย/ชาวบ้านบางส่วนเริ่มฟันไร่เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด
กุมภาพันธ์ 1.อากาศมีการเปลี่ยนแปลง 2. มะปรางป่าออก/ชาวบ้านไปตีผึ้ง 1.เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก 2.คนที่ว่างจากงานสาวๆจะไปหาเก็บมะปรางป่า(กวยซะ)มากิน/ผู้ชายเดินป่าหารังผึ้งและทำเครื่องหมายจองไว้ปลายเดือนก็จะไปตีผึ้ง
มีนาคม 1.เกิดภัยแล้ง 2.ฟันไร่/ตีผึ้ง/เผาไร่ 1.ระดับน้ำในแม่น้ำ....เริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 2.ชาวบ้านบางส่วนที่ฟันไร่ยังไม่เสร็จก็ฟันไร่ เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด/คนที่จองผึ้งไว้ก็จะไปตีผึ้ง/เริ่มเผาไร่ที่ฟันไว้
พฤษภาคม 1. เริ่มเข้าฤดูฝน/ใส่ข้าวไร่ 2. หน่อไม้ตามไร่เริ่มออก 1. ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้นชาวบ้านบางส่วนเริ่มเอาแรงเพื่อนบ้านไปใส่ข้าวไร่ 2. ชาวบ้านเก็บหน่อไม้ตามไร่มาทำกิน
มิถุนายน 1. หน่อไม้ซาง/เห็ดผึ้งเริ่มออก 2. ใส่ข้าวไร่/ปลูกข้าวโพด/ไถนาปี 1. ชาวบ้านหาขุดหน่อไม้ซางผึ้งไว้กินและขายเป็นรายได้ 2. ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กรกฏาคม ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี 3. ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก 1. พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น 2. ชาวบ้านทำนาปี 3. ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กันยายน หน่อไม้ไร่ออก/เห็ดโคนออก ชาวบ้านขุดหน่อไม้ไร่มากินและขายและถนอมไว้กินหน้าแล้งเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภค
ตุลาคม 1.ผักที่ปลูกในไร่เริ่มออกผลผลิตเช่นมะเขือ แตงกวา ผักกาดขม พริกกะเหรี่ยง ผักอิหลึง ฟักทองถั่วฝักยาว แตงไทย 1.ชาวบ้านเริ่มมีเก็บผลผลิตในไร่มากินและให้ครูที่ศศช.
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว/เกี่ยวข้าว/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวตากไว้ มัดข้าว ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ /เกี่ยวข้าวนา 1. ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด 2. ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน /ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี
มกราคม - บุญปีใหม่ (จี้จือฮิซอโค๊ะ) - บุญข้าวเปลือก(หม่าบุ๊บือซอ) -ชาวบ้านจะเชิญคนแก่คนเฒ่าที่เคารพนับถือในหมู่บ้านมาที่บ้านและมัดมือให้กับสมาชิกในครอบครัวทุกคนโดยเริ่มมัดมือจากคนสุดท้องก่อนและพ่อเป็นคนสุดท้ายที่จะมัดเพื่อให้มีชีวิตอยู่ดีมีสุขตลอดปีใหม่และจะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารสำหรับคนแก่คนเฒ่าที่เชิญมาด้วยการฆ่าหมูหรือไก่ที่เลี้ยงไว้ -ชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปทำบุญวัดใกล้บ้านและก็จะมีอาหารอย่างอื่นที่มีเช่น พริก เกลือ หมาก พลู น้ำผึ้ง ข้าวสาร ก็จะนำไปทำบุญด้วยเพื่อจะได้มีกินทั้งชาตินี้และชาติหน้า
กุมภาพันธ์ - ประเพณีแต่งงาน (ออหมุ) -ช่วงเดือนนี้จะเป็นช่วงที่มีการแต่งงานเยอะเพราะว่างจากการทำนาทำไร่
เมษายน - ประเพณีสงกรานต์ (ตาลาคา) -ประเพณีลูกหลานอยู่ที่ก็จะกลับมาแลนำของกินของใช้และน้ำส้มป่อยไปดำหัวและขอพรจากปู่ ย่า ตา ยายผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เรานับถือ
กรกฏาคม -เลี้ยงผีข้าวเขียว (ข้าวนาข้าวไร่) -แห่เทียนเข้าพรรษา -ชาวบ้านจะนำหมู ไก่ และเหล้า หรือบางบ้านก็ใช้แต่ขนมหวานไม่มีเหล้าไปเลี้ยงตามที่ไร่ นาของตนเองมีความเชื่อว่าเพื่อให้ผีนา ผีไร่ดูแลข้าวให้จะทำให้ได้ผลผลิตดี -ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดป่าจื้อพอก่อ เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนจะมาพัฒนาวัดและจำพรรษา
ตุลาคม - ทำบุญออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง ของใช้ที่จำเป็นมาถวายทานและทำบุญทอดผ้าป่าร่วมกับหน่วยงานข้างล่างที่วัดป่าจึ๊อพอก่อ เพื่อบูรณะซ่อมแซมวัดในวันออกพรรษา
พฤศจิกายน - ลอยกระทง -จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณลำห้วยขะเนจื้อ
ธันวาคม - วันพ่อแห่งชาติ -จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม -ชาวบ้านเอาแรงไปสร้างบ้านช่วยกัน -ผักฮากออก /ฟันไร่ -ชาวบ้านที่จะสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้านจะเอาแรงเพื่อนบ้านไปช่วยกันก่อสร้างบ้าน - ชาวบ้านไปหาเก็บผักฮากมากินและขาย/ชาวบ้านบางส่วนเริ่มฟันไร่เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด
กุมภาพันธ์ -อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - มะปรางป่าออก/ชาวบ้านไปตีผึ้ง -เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก -คนที่ว่างจากงานสาวๆจะไปหาเก็บมะปรางป่า(กวยซะ)มากิน/ผู้ชายเดินป่าหารังผึ้งและทำเครื่องหมายจองไว้ปลายเดือนก็จะไปตีผึ้ง
มีนาคม -เกิดภัยแล้ง -ฟันไร่/ตีผึ้ง/เผาไร่ -ระดับน้ำในแม่น้ำ....เริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ -ชาวบ้านบางส่วนที่ฟันไร่ยังไม่เสร็จก็ฟันไร่ เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด/คนที่จองผึ้งไว้ก็จะไปตีผึ้ง/เริ่มเผาไร่ที่ฟันไว้
พฤษภาคม -เริ่มเข้าฤดูฝน/ใส่ข้าวไร่ -หน่อไม้ตามไร่เริ่มออก -ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้นชาวบ้านบางส่วนเริ่มเอาแรงเพื่อนบ้านไปใส่ข้าวไร่ -ชาวบ้านเก็บหน่อไม้ตามไร่มาทำกิน
มิถุนายน -หน่อไม้ซาง/เห็ดผึ้งเริ่มออก -ใส่ข้าวไร่/ปลูกข้าวโพด/ไถนาปี -ชาวบ้านหาขุดหน่อไม้ซางผึ้งไว้กินและขายเป็นรายได้ -ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กรกฏาคม -ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก -พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น -ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี -ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
สิงหาคม -ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก -พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น -ชาวบ้านทำนาปี -ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กันยายน -หน่อไม้ไร่ออก/เห็ดโคนออก -ชาวบ้านขุดหน่อไม้ไร่มากินและขายและถนอมไว้กินหน้าแล้งเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภค
ตุลาคม -ผักที่ปลูกในไร่เริ่มออกผลผลิตเช่นมะเขือ แตงกวา ผักกาดขม พริกกะเหรี่ยง ผักอิหลึง ฟักทองถั่วฝักยาว แตงไทย -ชาวบ้านเริ่มมีเก็บผลผลิตในไร่มากินและให้ครูที่ศศช.
พฤศจิกายน -เริ่มเข้าฤดูหนาว/เกี่ยวข้าว/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ -อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวตากไว้ มัดข้าว ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน
ธันวาคม -อากาศมีความหนาวเย็น/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ /เกี่ยวข้าวนา -ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด -ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน/ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม