สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม - มัดมือปีใหม่(เรียกขวัญบ้าน) - เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน
กุมภาพันธ์ - ทำบุญเลี้ยงจอมปลวก - แต่งงาน - คนในหมู่บ้านร่วมกันนำข้าวที่หุงสุกแล้ว เหล้า ไก่ มารวมกันตอนทำพิธีทีหลังหมู่บ้าน - เป็นการบ่งบอกว่าผู้ที่แต่งงานนั้นมีความรักใครต่อกัน พร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้างครอบครัว
เมษายน - ประเพณีวันสงกรานต์ - มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ของวันที่ 13 เมษายน ในวันที่ 14 เมษายน จะไม่มีการทำบุญหรือทำพิธีต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านจะถือว่าวันนี้เป็นวันเน่า คือวันไม่ดี วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติของตนในหมู่บ้าน
กรกฏาคม - เลี้ยงผีไร่ (แสะขึ) - แห่เทียนเข้าพรรษา - เป็นพิธีเพื่อขอให้ผลผลิตของข้าวในนาและในไร่อุดมสมบูรณ์ โดยจะนำข้าวปากหม้อ 1 กระทง กับข้าว 1 อย่าง 1 กระทง เหล้า 2 ขวด ไก่ 3 ตัว มาเป็นของเซ่นไหว้ แต่ถ้าบ้านไหนมีหมูก็นำหมูมาเป็นของเซ่นไหว้ด้วยก็ได้ - ชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับเด็กนักเรียน นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่วัดบ้านห้วยยาว เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ
สิงหาคม - มัดมือลาขุ - วันแม่แห่งชาติ - เป็นการเรียกขวัญบ้าน โดยจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มามัดมือให้กับลูกหลานในในหมู่บ้านตามแต่ละบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและหมู่บ้าน โดยทุกบ้านจะต้องเข้าร่วมพิธี - จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ตุลาคม - วันออกพรรษา - ชาวบ้านร่วมกันทอดผ้าป่า และแห่ผ้าป่ามาถวายที่วัดบ้านห้วยยาว
พฤศจิกายน - ลอยกระทง - จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณแม่น้ำห้วยมะพร้าว
ธันวาคม - พิธีเลี้ยงนกเหยี่ยว(โทะบีคะ) - วันพ่อแห่งชาติ - ชาวบ้านเชื่อว่า ในช่วงระหว่างการไร่ข้าว จะมีนกชนิดหนึ่งอยู่ปกปักคุ้มครองรักษาข้าวที่อยู่ในไร่ข้าว เพื่อให้ข้าวที่อยู่ในไร่ ได้ผลผลิตงอกงามและมีความอุดมสมบูรณ์ โดยในการเซ่นไหว้ จะนำข้าวเปลือกใส่ไว้ในยุ้งข้าวที่กลางไร่ เหล้า 2 ขวด (ใส่ไว้ในกลางยุ้งข้าว) ไก่ 4 ตัว ข้าวหลาม 1 กระปอก (ของเซ่นไหว้จะยังไม่นำกลับแต่จะค้างไว้ที่พิธี 1 วัน เพื่อให้นกได้พักผ่อน วันถัดไปจึงสามารถนำของเซ่นไหว้กลับมาที่บ้านได้ - จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม - เป็นฤดูหนาวช่วงเช้าจะมีหมอกมากและมีอากาศหนาวมากในช่วงบ่ายจนถึงสายๆ - เป็นฤดูหนาวช่วงเช้าจะมีหมกหนามากและอากาศหนาวมากในช่วงบ่ายจนถึงสายๆ ชาวบ้านจะผิงไฟเพื่อคลายความหนาว
กุมภาพันธ์ - เป็นฤดูหนาวช่วงเช้าจะมีหมกหนามากและอากาศหนาวมากในช่วงบ่ายจนถึงสาย ช่วงเที่ยงวันค่อนข้างจะร้อน - เป็นฤดูหนาวช่วงเช้าจะมีหมกหนามากและอากาศหนาวมากในช่วงบ่ายจนถึงสาย ช่วงเที่ยงวันค่อนข้างจะร้อน ชาวบ้านสวนใหญ่จะพากันไปจับจองพื้นที่ไร่ข้าวเพื่อเตรียมถาง และทำแนวกันไฟ
เมษายน - เป็นเดือนที่ร้อนมากและส่วนใหญ่ชาวบ้านก็จะเตรียมเผาไร่ และเตรียมเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก - เป็นเดือนที่ร้อนมากและส่วนใหญ่ชาวบ้านก็จะไปเยี่ยมญาติ หาและเตรียมเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกจากญาติและเพื่อนบ้าน
พฤษภาคม - ฝนเริ่มตกและชาวบ้านเริ่มเตรียมพื้นที่การเกษตรและเตรียมปลูกข้าวไร่ - ฝนเริ่มตกและชาวบ้านเริ่มเตรียมพื้นที่การเกษตรและปลูกข้าวไร่ ผักต่างๆ และช่วยกันลงแขกปลูกข้าวไร่
กรกฏาคม - ฝนตกชุกชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะถางหญ้าในข้าวไร่ - ฝนตกชุกชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะถางหญ้าในข้าวไร่ และหาผักในป่ามาเป็นอาหาร
สิงหาคม - ฝนตกชุกชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน - ฝนตกชุกชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น มัดมือลาขุ และเลี้ยงผีไร่ เป็นต้น
ตุลาคม - ฝนบางลงและเริ่มต้นฤดูหนาว - ฝนบางลงและเริ่มต้นฤดูหนาวข้าวไนไร่เริ่มเหลือง และมีการเกี่ยวข้าว มีการลงแขกช่วยกันเกี่ยวข้าว
ธันวาคม - อากาศหนาวมากขึ้น ชาวบ้านเก็บผลผลิตมาบ้าน - อากาศหนาวมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มตีข้าวและแกกลับมาบ้าน เพื่อมาใส่ยุ้งฉาง และทำพิธีกรรมต่อไป

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม - อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
กุมภาพันธ์ - อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
มีนาคม - เกิดภัยแล้ง - ระดับน้ำในลำห้วยมะพร้าวเริ่มลดลง ระบบประปาภูเขามีน้ำไหลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในหมู่บ้านและศศช.
เมษายน - เกิดภัยแล้ง - ระดับน้ำในลำห้วยมะพร้าวเริ่มลดลง ระบบประปาภูเขามีน้ำไหลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในหมู่บ้านและ ศศช.บ้านห้วยมะพร้าวไม่สามารถปลูกพืช-ผักได้
พฤษภาคม - เกิดพายุฤดูฝน - ทำให้ต้นกล้วยน้ำว้าหักล้ม สร้างความเสียหายในการเกษตรของ ศศช.บ้านห้วยมะพร้าว
มิถุนายน - ฝนตกมากขึ้น - จะทำให้ทางเข้าหมู่บ้านลำบากและทำการขนส่งสิ่งของต่างๆลำบากเวลาที่จะลงมาข้างลาง
กรกฏาคม - ฝนตกติดต่อกันหลายวัน - เลยทำให้การคมนาคมเล้นทางลำบาก
สิงหาคม - ฝนตกมาก - เลยทำให้เส้นเสียหายและผลผลิตการเกษตรเสียหายมากขึ้น
กันยายน - อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
ตุลาคม - อากาศมีการเปลี่ยนแปลง - เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
พฤศจิกายน - เริ่มเข้าฤดูหนาว - อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะไข้หวัดในกลุ่มเด็ก
ธันวาคม - อากาศมีความหนาวเย็น - เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะไข้หวัดในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม