สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม ตานข้าวใหม่ คนในหมู่บ้านร่วมกันนำข้าวเปลือกมาถวายที่วัด และทำการสมโภช เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระแม่โพสพ ข้าวเปลือกที่นำมา
เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ -เป็นการผูกข้อมือประจำปีที่ชาวบ้านจะผูกข้อมือพร้อมกันหลายครอบครัว มีผู้เฒ่าผู้แก่จะผูกข้อมือให้กับเด็กๆ ฮี้ซอ แปลว่า บ้านใหม่ฃึ่งหมายถึงการผูกข้อมือขึ้นบ้านใหม่ -ชาวบ้านในหมู่บ้านจะมีการร่วมกันลงแขกหยอดข้าวไร่เป็นการเริ่มต้นฤดูกาลปลูกข้าวใหม่
มิถุนายน ผูกข้อมือเดือน 7( กี้จือลาขุ ) เป็นการผูกข้อมือประจำปีที่ชาวบ้านจะผูกข้อมือพร้อมกันหลายครอบครัว มีผู้เฒ่าผู้แก่จะผูกข้อมือให้กับเด็กๆ หลังจากการตรากตรำงานจากไร่นาจนข้าวเริ่มเขียวชะอุ่ม
กรกฏาคม แห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่สำนักสงฆ์บ้านแสม เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านจะมาสวดมนต์นั่งสมาธิ
สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วม ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
ตุลาคม บูรณะซ่อมแซมวัดในวันออกพรรษา ชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดบริเวณวัดและบูรณะซ่อมแซมสำนักสงฆ์บ้านแสม
พฤศจิกายน ลอยกระทงสาย จัดกิจกรรมลอยกระทงสายในหมู่บ้านบริเวณหมู่บ้าน
ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดลงนามถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ในช่วงนี้ชาวบ้านเตรียมพื้นที่การเกษตรโดยการถางหญ้า เผาหน้าดิน เพื่อที่จะปลูกข้าวในเดือนพฤษภาคม
กุมภาพันธ์ ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ชุมชนเริ่มมีการถางหญ้าไร่ข้างโพด เตรียมพื้นที่ให้พร้อม
มีนาคม ตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง ชุมชนมีการเก็บน้ำผึ้งขาย
เมษายน ปลูกข้าวไร่ ปลูกพืชสวน (พริก มะเขือ ฟักทอง) ชุมชนมีการปลูกข้าวไร่พร้อมกับมีการปลูกพืชผักสวนครัว
พฤษภาคม ปลูกข้าวโพด ชุมชนมีการปลูกข้าวโพดในแต่ละครอบครัว
มิถุนายน ทำนาข้าว ชุมชนมีการหว่านข้าวนาและมีการเตรียมพื้นที่นาในการปลูกข้าว
กรกฏาคม ปลูกข้าวนา ชุมชนมีการปลูกนา
สิงหาคม ถางหญ้าไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด ชุมชนมีการถางหญ้าตามไร่ข้าวและไร่ข้าวโพดในแต่ละครัวเรือน
ตุลาคม ถางหญ้าข้าวโพด ชุมชนมีการถางหญ้าข้าวโพดในครัวเรือนที่ยังถางไม่เสร็จ
พฤศจิกายน ชุมชนเกี่ยวข้าวนาและเก็บข้าวโพด ชุมชนจะเกี่ยวข้าวนาและเก็บข้าวโพด
ธันวาคม ชุมชนเกี่ยวข้าวนาและเก็บข้าวโพด ชุมชนจะเกี่ยวข้าวนาและเก็บข้าวโพด

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม อากาศมีการเปลี่ยนแปลง อากาศหนาว เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กมีขี้มูกไหล
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง อากาศหนาว เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กมีน้ำมูกไหล
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ระดับน้ำในลำห้วยเริ่มลดลง ระบบประปาภูเขามีน้ำไหลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในหมู่บ้านและศศช.
เมษายน เกิดภัยแล้ง เกิดพายุฤดูร้อน ระดับน้ำในลำห้วยบางแห่งเริ่มแห้งและขาดแคลนน้ำใช้โดยเฉพาะประปาภูเขาในหมู่บ้าน ทำให้ฝนตกและมีลูกเห็บตก ชาวบ้านเริ่มหยอดข้าวไร่
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน เกิดพายุฤดูฝน ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น ชาวบ้านเริ่มลงมือในการหยอดข้าวไร่และปลูกข้าวโพด เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
มิถุนายน ฝนตกหนัก อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน เริ่มมีของป่า (หน่อไม้) มากขึ้น ชาวบ้านหาจับอึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้ ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้
กรกฏาคม พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี ชาวบ้านถางหญ้าในไร่ข้าว
สิงหาคม ฤดูฝน พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านทำนาปี ชาวบ้านถางหญ้าในไร่ข้าว
กันยายน เห็ดโคนออก ชาวบ้านที่ทำไร่ข้าวโพดเริ่มหักข้าวโพดขายเป็นฝัก ชาวบ้านถางหญ้าในไร่ข้าว
ตุลาคม ฝนตกน้อยลง ชาวบ้านเริ่มเก็บข้าวโพดและแกะเปลือกออกเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ปลอดภัย ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวไร่
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ตีข้าวไร่และนำกลับบ้าน
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปีและนำกลับบ้าน


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม