สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตาก
 
วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี
เดือน ชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะวัฒนธรรม ประเพณี
มกราคม -บุญปีใหม่ (จี้จือฮิซอโค๊ะ) -บุญข้าวเปลือก(หม่าบุ๊บือซอ) -พิธีบาต้า(ศาสนาคริตส์) -ชาวบ้านจะเชิญคนแก่คนเฒ่าที่เคารพนับถือในหมู่บ้านมาที่บ้านและมัดมือให้กับสมาชิกในครอบครัวทุกคนโดยเริ่มมัดมือจากคนสุดท้องก่อนและพ่อเป็นคนสุดท้ายที่จะมัดเพื่อให้มีชีวิตอยู่ดีมีสุขตลอดปีใหม่และจะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารสำหรับคนแก่คนเฒ่าที่เชิญมาด้วยการฆ่าหมูหรือไก่ที่เลี้ยงไว้ -ชาวบ้านที่นับถือศาสนาคริตส์จะทำพิธีขอบคุณพระเจ้าและสวดขอให้ครอบครัวของตนมีความสุขตลอดปีใหม่และจะมีการฉลองปีใหม่โดยอาหารจะทำจากหมูหรือไก่และทุกคนในหมู่บ้านจะมาร่วมฉลองด้วยกัน
กุมภาพันธ์ -ประเพณีแต่งงาน(อ้อหมุ) -ช่วงเดือนนี้จะเป็นช่วงที่มีการแต่งงานเยอะเพราะว่างจากการทำนาทำไร่
มีนาคม -ประเพณีแต่งงาน (อ้อหมุ) -ช่วงเดือนนี้จะเป็นช่วงที่มีการแต่งงานเยอะเพราะว่างจากการทำนาทำไร่
เมษายน - ประเพณีสงกรานต์ (ตาลาคา) -ประเพณีลูกหลานอยู่ที่ก็จะกลับมาและนำของกินของใช้และน้ำส้มป่อยไปดำหัวและขอพรจากปู่ ย่า ตา ยายผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เรานับถือ
กรกฏาคม .แห่เทียนเข้าพรรษา -ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นำเทียนจำนำพรรษามาถวายที่ สำนักสงฆ์ดอยเป๊ก เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรทำบุญ พุทธศาสนิกชนจะมาพัฒนาวัดและ จำพรรษา
ตุลาคม -ทำบุญออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้ง ของใช้ที่จำเป็นมาถวายทานและทำบุญทอดผ้าป่าร่วมกับหน่วยงานข้างล่างในวันออกพรรษาที่สำนักสงฆ์ดอยเป๊ก
พฤศจิกายน ลอยกระทง -จัดกิจกรรมลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณ ลำห้วยบือล่าพอ
ธันวาคม -วันพ่อแห่งชาติ จัดพระบรมฉายาลักษณ์และถวายพระพร เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มาร่วมถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ปฏิทินฤดูกาล ด้านอาชีพของชุมชน
เดือน การทำงาน ลักษณะของการทำงาน
มกราคม ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ในช่วงนี้ชาวบ้านเตรียมพื้นที่การเกษตรโดยการถางหญ้า เผาหน้าดิน เพื่อที่จะปลูกในเดือนพฤษภาคม
กุมภาพันธ์ ถางไร่เพื่อทำการเกษตร ชุมชนเริ่มมีการถางหญ้าเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพด
มีนาคม ตีผึ้งเก็บน้ำผึ้ง ชุมชนมีการเก็บน้ำผึ้งขาย
เมษายน ปลูกข้าวไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว (พริก มะเขือ ฟักทอง แตงกวา) ชุมชนมีการปลูกข้าวไร่พร้อมกับปลูกพืชผักสวนครัว
พฤษภาคม ปลูกข้าวโพด ชุุมชนมีการปลูกข้าวโพดในแต่ละครอบครัว
มิถุนายน ทำนาข้าว ชุมชนมีการหว่านข้าวนาและมีการเตรียมพื้นที่ในการปลูกข้าว
กรกฏาคม ปลูกข้าวนา ชุมชนมีการปลูกข้าวนา
สิงหาคม ถางหญ้าไรข้าและข้าวโพด ชุมชนทำการถางหญ้าในไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด
กันยายน ถางหญ้าไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด ชุมชนแต่ละครอบครัวถางหญ้าในไร่ข้าวและไร่ข้าวโพด
ตุลาคม ถางหญ้าข้าโพด ชุมชนยังมีการถางหญ้าในไร่ข้าวโพดสำหรับครอบครัวที่ยังถางไม่เสร็จ
พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวข้าวไร่และข้าวโพด ชุมชนเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่และข้าวโพด
ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิต (ข้าวนา ข้าวโพด) ชุมชนเก็บเกี่ยวข้าวนาและเก็บข้าวโพด

ปฏิทินฤดูกาลของหมู่บ้าน
เดือน เหตุการณ์ / ปรากฎการณ์ ลักษณะของปรากฎการณ์/ผลกระทบ
มกราคม -ชาวบ้านเอาแรงไปสร้างบ้านช่วยกัน ผักฮากออก /ฟันไร่ -ชาวบ้านที่จะสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้านจะเอาแรงเพื่อนบ้านไปช่วยกันก่อสร้างบ้าน - ชาวบ้านไปหาเก็บผักฮากมากินและขาย/ชาวบ้านบางส่วนเริ่มฟันไร่เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด
กุมภาพันธ์ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง มะปรางป่าออก/ชาวบ้านไปตีผึ้ง เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก คนที่ว่างจากงานสาวๆจะไปหาเก็บมะปรางป่า(กวยซะ)มากิน/ผู้ชายเดินป่าหารังผึ้งและทำเครื่องหมายจองไว้ปลายเดือนก็จะไปตีผึ้ง
มีนาคม เกิดภัยแล้ง ฟันไร่/ตีผึ้ง/เผาไร่ ระดับน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ ชาวบ้านบางส่วนที่ฟันไร่ยังไม่เสร็จก็ฟันไร่ เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด/คนที่จองผึ้งไว้ก็จะไปตีผึ้ง/เริ่มเผาไร่ที่ฟันไว้
เมษายน เกิดภัยแล้ง ฟันไร่/ตีผึ้ง/เผาไร่ ระดับน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลง ไม่สามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ ชาวบ้านบางส่วนที่ฟันไร่ยังไม่เสร็จก็ฟันไร่ เตรียมใส่ข้าวไร่และข้าวโพด/คนที่จองผึ้งไว้ก็จะไปตีผึ้ง/เริ่มเผาไร่ที่ฟันไว้
พฤษภาคม เริ่มเข้าฤดูฝน/ใส่ข้าวไร่ หน่อไม้ตามไร่เริ่มออก ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้นชาวบ้านบางส่วนเริ่มเอาแรงเพื่อนบ้านไปใส่ข้าวไร่ ชาวบ้านเก็บหน่อไม้ตามไร่มาทำกิน
มิถุนายน หน่อไม้ซาง/เห็ดเริ่มออก ใส่ข้าวไร่/ปลูกข้าวโพด/ไถนาปี ชาวบ้านหาขุดหน่อไม้ซางผึ้งไว้กินและขาย เป็นรายได้ ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กรกฏาคม ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านเริ่มไถหว่านนาปี ชาวบ้านปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
สิงหาคม ฤดูฝน/ชาวบ้านขายหน่อไม้หก พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น ชาวบ้านทำนาปี ปลูกข้าวโพด/ใส่ข้าวไร่/ไถนาปี
กันยายน หน่อไม้ไร่ออก/เห็ดโคนออก ชาวบ้านขุดหน่อไม้ไร่มากินและขายและถนอมไว้กินหน้าแล้งเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภค
ตุลาคม -ผักที่ปลูกในไร่เริ่มออกผลผลิตเช่นมะเขือ แตงกวา ผักกาดขม พริกกะเหรี่ยง ผักอิหลึง ฟักทองถั่วฝักยาว แตงไทย -ชาวบ้านเริ่มมีเก็บผลผลิตในไร่มาประกอบอาหาร
พฤศจิกายน เริ่มเข้าฤดูหนาว/เกี่ยวข้าว/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก/ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวตากไว้ มัดข้าว ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน
ธันวาคม อากาศมีความหนาวเย็น/ตีข้าว/ขนข้าวไร่ /เกี่ยวข้าวนา ไก่เริ่มเกิดโรคระบาด ตีข้าว และขนข้าวที่ได้มาเก็บไว้ที่บ้าน ชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้าวนาปี


 
สงวนลิขสิทธิ์ @ 2013 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก.
Powered by : Admin, http://tak.nfe.go.th จำนวนผู้เข้าชม